HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคซึมเศร้าอาการคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคซึมเศร้าอาการ

โรคซึมเศร้าเป็นภาวะความผิดปกติทางสมองที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึก ซึ่งผู้ป่วยอาจรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง รู้สึกว่าตนด้อยค่า มีอารมณ์เศร้าหมอง เมื่อเผชิญกับความสูญเสียหรือปัญหาอุปสรรคในชีวิต  ซึ่งผลของโรคกระทบต่อชีวิตประจำวัน

โรคซึมเศร้าอาการ

ผู้ป่วยไม่สามารถประสานความคิด ความรู้สึกของตัวเพื่อแก้ปัญหา หากไม่รักษาอาการอาจจะมีความรุนแรงและยาวนานส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในด้านต่าง ๆ ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน

 

ชนิดของโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าแบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน

1. โรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depression)

โรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depression)
CR. https://www.psycom.net/depression.central.major.html

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าชนิดนี้ จะมีความผิดปกติที่มีอารมณ์ซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ ผู้ที่ป่วยจะมีอาการเศร้าสลดอย่างมาก ไม่มีความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ  เป็นอาการซึมเศร้าอย่างที่ส่งผลกระทบถึงชีวิตการทำงานหรือการเรียน รวมไปถึงการนอนหลับและการกินอยู่ได้อย่างเป็นปกติสุขอย่างรุนแรง อีกทั้งยังลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอีกด้วย

2. โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย (Dysthymia Depression)

โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย (Dysthymia Depression)
CR. https://www.mhalancaster.org/2016/11/09/depression-stays-hidden-dysthymia-persistent-depressive-disorder/

แม้จะมีอาการและความรุนแรงของอาการน้อยกว่าชนิดแรก แต่ภาวะซึมเศร้าชนิดนี้จะเป็นอย่างต่อเนื่องนานกว่า และเป็นเวลาอย่างน้อยตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป อาการไม่รุนแรงถึงขนาดทำอะไรไม่ได้ มีบางช่วงเวลาที่ต้องเผชิญภาวะซึมเศร้าชนิดรุนแรงร่วมด้วย

3. โรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ ดิสออร์เดอร์ (Bipolar disorder)

โรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ ดิสออร์เดอร์ (Bipolar disorder)
CR. https://thedoctorweighsin.com/bipolar-disorder/

ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ซึ่งบางคนอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนมากจะค่อยเป็นค่อยไป เวลาซึมเศร้าจะมีอาการมากบ้างน้อยบ้าง บางรายจะมีอารมณ์เซ็ง ซึมเศร้าสลับกับอาการลิงโลด

โดยเป็นอารมณ์ที่ต่างกัน  กระฉับกระเฉงมากเกินกว่าเหตุ มีพลังงานเหลือเฟือ ในช่วง mania จะมีผลกระทบต่อความคิด การตัดสินใจและพฤติกรรมผู้ป่วยอาจจะหลงผิด หากไม่รักษาภาวะนี้อาจจะกลายเป็นโรคจิต

 

โรคซึมเศร้าอาการ สาเหตุ

สาเหตุที่จะกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้ามีทั้งความเสี่ยงทางพันธุกรรม ทางสภาพจิตใจ และการเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย ร่วมกันทั้ง 3 ปัจจัย

-โรคซึมเศร้าเกิดจากความเครียด มักพบว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดปกติของระดับสารเคมี ที่เซลล์สมองสร้างขึ้น เพื่อรักษาสมดุลของอารมณ์

-สภาพทางจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดู ก็เป็นปัจจัยที่เสี่ยงอีกประการหนึ่งต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเช่นกัน

-การเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย เช่น หากชีวิตพบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ต้องเจ็บป่วยเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดไม่ราบรื่น หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่ปรารถนา ก็อาจกระตุ้นให้โรคซึมเศร้ากำเริบได้

-ความผิดปกติในสมอง เช่น สารสื่อประสาท ฮอร์โมนและวงจรระบบประสาท

-สภาพจิตใจของแต่ละคนอันเนื่องมาจากการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมและเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการคิดและมุมมองต่อตนเอง

-ภาวะซึมเศร้าอาจเกิดจากความผิดปกติอื่น ๆ เช่น โรคไทรอยด์ ลมชัก สมองเสื่อม ฯลฯ

-หากคนในครอบครัวที่เป็นญาติสายตรง พ่อ แม่ พี่ น้อง ที่เป็นโรคซึมเศร้า ก็จะมีโอกาสเป็นมากกว่าคนทั่วไป 20%

-การใช้ยาบางอย่างก็ส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ เช่น ยานอนหลับบางตัว ยารักษาสิว ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด สารเสพติดหรือแอลกอฮอล์

-ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความสนุก งานอดิเรก หรือกิจกรรมที่เพิ่มความสนุกรวมทั้งกิจกรรมทางเพศ

-ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นแย่ลง

โรคซึมเศร้าอาการ อาการ

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักมีอาการดังต่อไปนี้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์

-มีอาการรู้สึกเศร้าใจ หม่นหมอง หงุดหงิด หรือรู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ

-ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง หรือสิ่งที่เคยให้ความสนุกสนานในอดีต

-น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้น ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น

-นอนไม่หลับ หรือ นอนมากหรือน้อยกว่าปกติ

-คนที่เป็นโรคซึมเศร้า รู้สึกเศร้า ท้อแท้ จะรู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า

-ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ความจำแย่ลง

-อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง เหนื่อยและอ่อนเพลียตลอดเวลา

-ขาดสมาธิ ความสามารถในการคิดและการตัดสินใจน้อยลง กระวนกระวาย ไม่อยากทำกิจกรรมใด ๆ

-รู้สึกผิดและโทษตนเองตลอดเวลา อยากที่จะฆ่าตัวตาย

-มีปัญหาในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคม

 

โรคซึมเศร้าอาการ การรักษา

การรักษาโรคซึมเศร้า หลักของการรักษาโรคซึมเศร้าคือ การพูดคุยให้คำปรึกษา การทำจิตบำบัด สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการใช้ยากลุ่มต้านเศร้า โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนอง ต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับการรักษาสามารถดีขึ้นได้จนสามารถทำงานและดำรงชีวิตได้อย่างปกติหากได้รับการรักษาที่เหมาะสม

 

1. การรักษาทางจิตใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จิตบำบัด

มีวิธีรักษาทางจิตใจอยู่หลายรูปแบบ ซึ่งอาจเป็นการ ”พูดคุย” พบกับจิตแพทย์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจกับสาเหตุของปัญหา และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเช่น

การรักษาทางจิตใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จิตบำบัด

-การรักษาทางพฤติกรรม  จะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีทำให้มีความสุขจากการกระทำของตนเอง และพร้อมที่จะหยุดพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่ความซึมเศร้าด้วยการทำจิตบำบัดนับว่าได้ผลดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าน้อย ถึงปานกลาง ทั้งนี้สาเหตุและอาการของผู้ป่วยจะเป็นปัจจัยให้นักบำบัดเลือกใช้วิธีบำบัดที่ต่างกันออกไป เช่น

-การรักษาแบบปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยการมุ่งไปที่การบำบัดความสัมพันธ์ของผู้ป่วยกับบุคคลอื่น ๆ หรือปัญหาด้านความสัมพันธ์ที่อาจเป็นเหตุของอาการซึมเศร้า เช่น การสื่อสารที่มีปัญหา หรือการรับมือกับการสูญเสียบุคคลใกล้ชิด เป็นต้น

 

2.การใช้ยาต้านเศร้า (Antidepressants)

ซึ่งจะช่วยในการปรับสมดุลของสารเคมีในสมองที่ควบคุมอารมณ์และความเครียด ในผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง แพทย์อาจใช้ยาต้านเศร้าผสานกับการบำบัดด้วยการพูดคุย ยาต้านเศร้ามีหลายชนิดให้เลือกใช้ โดยทางแพทย์อาจต้องลองเปลี่ยนตัวยาให้กับผู้ป่วย เพื่อค้นหาตัวยาที่จะได้ผลดีที่สุดและมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด

การใช้ยาต้านเศร้า (Antidepressants)

แพทย์มักเริ่มด้วยการสั่งจ่ายยากลุ่ม SSRIs ซึ่งปลอดภัยและมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาต้านซึมเศร้าชนิดอื่น ยาต้านซึมเศร้ากลุ่ม SSRIs ได้แก่ ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) พาร็อกซีทีน (Paroxetine) เซอร์ทราลีน (Sertraline) ไซตาโลแพรม (Citalopram) และเอสไซตาโลแพรม (Escitalopram)

และการใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าอาจมีผลข้างเคียงตามมา เช่น

ผลข้างเคียงของกลุ่มยา tricyclics

-ปากแห้งคอแห้ง ควรดื่มน้ำ หรือจิบน้ำบ่อย ๆ

-ท้องผูก ควรกินอาหารที่มีกากใยและทานผลไม้ เช่น ส้มโอ มะขาม มะละกอปัญหาอาจมีการถ่ายปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะขัด

-ตาพร่ามัว อาการนี้จะหายเองโดยใช้เวลาไม่นาน

-เวียนศีรษะ เวลาลุกไม่ควรลุกนั่งเร็วเกินไป

ง่วงนอน หลีกเลี่ยงการขับขี่ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร

 

กลุ่มตัวยา SSRI อาจมีผลข้างเคียงที่ต่างออกไปเช่น

-อาจมีอาการปวดศีรษะ เป็นช่วง ๆ แล้วจะหายไป

-มีอาการคลื่นไส้บ้าง

-นอนไม่หลับหรือกระวนกระวาย อาจพบได้ในช่วง 2 – 3 สัปดาห์แรก ของการกินยา

 

3.การรักษาด้วยการกระตุ้นเซลล์สมอง (Brain Stimulation Therapies)

การรักษาด้วยการกระตุ้นเซลล์สมอง

เป็นวิธีการรักษาเมื่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบอื่น หรืออยู่ในภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรงถึงขั้นทำร้ายตนเองหรือคนอื่น การรักษาด้วยการกระตุ้นสมองและเส้นประสาทจึงกลายเป็นวิธีที่ปลอดภัยและได้ผลที่สุด ได้แก่

 

การบำบัดช็อคด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy: ECT)

การรักษาด้วยวิธีนี้ทำได้ด้วยการให้ยาสลบแล้วใช้กระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่สมองผู้ป่วย โดยทางการแพทย์เชื่อว่ากระแสไฟฟ้านี้จะส่งผลต่อการทำงานและการเกิดสารนิวโรทรานสมิทเทอรส์ในสมอง ช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงที่การรักษาชนิดอื่นไม่สามารถทำได้ผ่อนคลายลงได้ทันที

การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation: TMS)

เป็นการใช้ขดลวดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าวางบนศีรษะผู้ป่วย แล้วส่งพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากำลังอ่อนไปกระตุ้นเซลล์ประสาทส่วนที่ควบคุมอารมณ์ปกติและอารมณ์เศร้า

 

โรคซึมเศร้าอาการ การป้องกัน

ซึ่งทำได้โดยปฏิบัติหลักสุขศึกษา คือ

-กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หากขาดสารอาหารบางอย่างไปจะทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น

-การออกกำลังกาย เป็นการออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินเร็วก็ได้ ควรออกกำลังกายสัปดาห์ละอย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกัน 30-40 นาที

-นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องกาย อย่างน้อย 8 ชั่วโมง หรือเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม

-การทำสมาธิ ผ่อนคลายจิตใจ จะช่วยให้สมองผ่อนคลาย ลดความเครียดได้

-อย่านำตัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน

-อย่าตั้งเป้าหมายที่บรรลุได้ยาก

-อย่าคาดหวังกับตนเองมากเกินไป เพราะนั่นคือ คุณกำลังสร้างความล้มเหลว

-อย่าตัดสินใจเรื่องสำคัญหากกำลังเผชิญภาวะตกต่ำทางอารมณ์ อาจทำให้คิดอ่านได้ไม่ดีพอ เช่นตัดสินใจกับเรื่องใหญ่ ๆ ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการลาออก เปลี่ยนงาน แต่งงาน หรือหย่าร้าง โดยไม่ปรึกษาคนอื่น หรือตัดสินใจคนเดียว

-อย่าแยกตัวออกจากสังคม พยายามเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับครอบครัวและเพื่อน หรือเข้าร่วมกับกลุ่มผู้ป่วยซึมเศร้าเพื่อพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนที่เผชิญภาวะซึมเศร้าเช่นเดียวกัน

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก..
1. https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/depression
2. https://www.pobpad.com/โรคซึมเศร้า/การรักษาโรคซึมเศร้า
3. https://www.sanook.com/health/721/
4. https://www.pobpad.com/โรคซึมเศร้า/การรักษาโรคซึมเศร้า