โรคนอนไม่หลับคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน
Table of Contents
โรคนอนไม่หลับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ประสบปัญหา เรื่องการนอนไม่หลับ คุณจะรู้เลยว่ามันทรมานแค่ไหน เนื่องจากการนอนไม่หลับจะมีผลกระทบกับคุณในช่วงกลางวัน และ กลางคืน ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลียในระหว่างวัน จึงทำให้มีปัญหาในการทำงาน
โรคนอนไม่หลับสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ มักเกิดขึ้นกับผู้หญิง และ ผู้สูงอายุ คนที่นอนไม่หลับส่วนมากจะกังวลกับการนอนหลับของตนเอง ซึ่งนั่นถือเป็นสิ่งที่ผิด ผู้ป่วยที่นอนไม่หลับอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ การทำงานของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติในระหว่างนอนหลับ
สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ
ปัจจัยทางด้านจิตใจ
– โรคนอนไม่หลับปฐมภูมิ หากคุณมีความเครียด การนอนหลับของคุณอาจมีปัญหา ยิ่งถ้าคุณมีความกังวลว่าจะไม่สามารถทำงานในช่วงกลางวันได้ คุณยิ่งมีความพยายามอย่างมากเพื่อให้ตัวเองนอนหลับในเวลากลางคืน ซึ่งจะยิ่งทำให้คุณนอนหลับได้ยากขึ้น การรักษาจะต้องไม่กังวลเรื่องการนอนไม่หลับ และ เรียนรู้ลักษณะนิสัยการนอนใหม่
– ความเครียดเรื้อรัง ปัญหาเรื่องความเจ็บป่วย เรื่องการทำงาน เรื่องความเจ็บป่วยล้วนก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการนอนหลับ จึงควรเรียนรู้ที่จะจัดการกับความเครียด จะช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับได้
– สารกระตุ้น ชีวิตประจำวัน หากคุณดื่มกาแฟช่วงเย็นการนอนหลับของคุณอาจแย่ลง สารนิโคตินก็จะทำให้ตื่น คนที่สูบบุหรี่จะนอนหลับได้ยากกว่าคนไม่สูบบุหรี่ และ ยาหลายชนิดอาจมีสารกระตุ้น ซึ่งจะรวมถึงยาลดน้ำหนัก ยาแก้แพ้ และ ยาแก้หอบหืด ยาลดน้ำมูกบางชนิด ก็มีสารกระตุ้นผสมอยู่ด้วย
– แอลกอฮอล์ จะทำให้คุณหลับได้เร็ว แต่ก็จะทำให้คุณตื่นขึ้นมาเป็นพัก ๆ ตลอดคืน
– ชั่วโมงการทำงาน หากคุณทำงานเป็นกะ มักจะประสบปัญหาเรื่องการนอนหลับ คุณจึงควรพยายามรักษาตารางเวลาการนอนให้เหมือนเดิม แม้ในช่วงที่คุณหยุดงาน
เพื่อที่จะช่วยให้ระบบร่างกายของคุณนอนเป็นเวลาแน่นอน และยังคนตื่นได้ ซึ่งการตื่นในเวลาเดิม ทุก ๆ เช้าจะเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยให้รูปแบบการนอนสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้น ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการออกกำลังกาย คือ ช่วงประมาณ 4 ชั่วโมง ก่อนการเข้านอน และ ไม่ควรออกกำลังกายใกล้เวลาเข้านอน ควรเว้นอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน เพื่อให้จังหวะการเต้นของหัวใจช้าลง และ อุณหภูมิร่างกายลดลง
ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม
-เสียงรบกวน เสียงการจราจร โทรทัศน์ เครื่องบิน และ เสียงอื่น ๆ สามารถรบกวนการนอนหลับของคุณ ดังนั้นคุณควรทำห้องนอนของคุณให้เงียบที่สุดเท่าที่จะทำได้
-แสงสว่าง โดยที่แสงสว่างจะผ่านเปลือกตาของคุณ ถึงแม้ว่าเปลือกตาของคุณจะปิดก็ตาม ซึ่งแสงสว่างจะรบกวนการนอนหลับของคุณ ดังนั้นคุณจึงควรใช้ผ้าท่านบังแสง เพื่อทำให้ห้องนอนของคุณไม่สว่างเกินไป
-ความเจ็บป่วยทางร่างกาย หรือ จิตใจ ปัญหาทางด้านจิตใจ โรคจากการนอนหลับชนิดอื่น ๆ และ ความเจ็บป่วย อาจทำให้การนอนหลับเปลี่ยนไป
-ปัญหาทางด้านจิตใจ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีโรคทางด้านจิตใจคุณอาจจะนอนหลับได้ไม่ดี การตื่นนอนเร็วกว่าปกติ เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่งการรักษาโรคประจำตัวจะสามารถช่วยทำให้การนอนหลับของคุณดีขึ้น และยาบางตัวที่ใช้เพื่อรักษาทางด้านจิตใจ อาจเป็นสาเหตุให้นอนไม่หลับ
-โรคการหายใจผิดปกติขณะหลับ การหายใจที่ปกติมักพบในเพศชาย ผู้ที่มีน้ำหนักมาก และ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นจะตื่นขึ้นมาหลายครั้ง ซึ่งเวลาที่หยุดหายใจจะเป็นช่วงสั้นประมาณ 10 วินาที
การตรวจการนอนหลับเพื่อวินิจฉัย ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นโรคจากการนอนหลับมักจะได้ผลจากการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก การรักษานี้จะช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดด้วยแรงดันต่อเนื่องของอากาศไหลผ่านหน้ากากที่สวมเข้ากับจมูกของผู้ป่วยในขณะหลับ
-ความผิดปกติของขากระตุกเป็นช่วง ๆ ขณะหลับ การหดตัวของกล้ามเนื้อจะทำให้ขากระตุกเป็นเวลา 1 – 2 วินาที การหดตัวนี้จะเกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ ทุก 30 วินาที บางคนอาจมีขากระตุกเกิดขึ้นหลาย ๆ ช่วงของทุกคืน
การเคลื่อนไหวของขาทำให้รบกวนการนอนหลับได้หลายร้อยครั้งในแต่ละคืน ซึ่งจะส่งผลให้นอนกระสับกระสวย การรักษามีทั้งการรักษาด้วยยา การรับประทานธาตุเหล็กเสริม โดยพบว่าการรักษาด้วยวิธีนี้จะช่วยให้อาการดีขึ้น
-โรคกรดไหลย้อน อาการที่พบบ่อย คือ แสบร้อนบริเวณหน้าอก เนื่องจากความเจ็บ และ ความจุกแน่น จะเกิดขึ้นบริเวณกลางหน้าอก เมื่อกรดไหลย้อนเกิดขึ้นระหว่างวัน การกลืนและอยู่ในท่าตัวตรงจะแก้ปัญหานี้ได้
ส่วนในช่วงกลางคืนการกลืนจะลดลง และ อยู่ในท่านอน จึงทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ง่ายขึ้น ทำให้ตื่น หรือ สำลักได้บ่อย หากคุณมีปัญหานี้คุณจึงควรพยายามหนุนหมอนสูง
อาการนอนไม่หลับของคุณเกิดขึ้นเมื่อไหร่ จึงจะต้องขอความช่วยเหลือ
หากการนอนไม่หลับของคุณถูกรบกวนนานกว่า 1 เดือน และมีผลทำให้การทำงานของคุณ และ อารมณ์ของคุณเกิดผลเสีย คุณควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับอาการนอนไม่หลับ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือดบางอย่างรวมทั้งการซักประวัติความเจ็บป่วย จะช่วยในการหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับได้
หากคุณนอนไม่หลับ ยานอนหลับจะช่วยได้หรือไม่
ยานอนหลับมีหลายชนิด บางชนิดสามารถหาซื้อได้เอง โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ซึ่งยาแต่ละชนิดจะมีทั้งข้อดี และ ข้อเสีย เช่น บางชนิดออกฤทธิ์ระยะสั้น และ จะออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดเมื่อคุณเริ่มนอน บางชนิดออกฤทธิ์ระยะยาว ซึ่งจะออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดเพื่อให้คุณนอนหลับได้ยาวนานตลอดทั้งคืน
ยานอนหลับจะช่วยให้คุณนอนหลับ และ รู้สึกกระปรี้กระเปร่าในวันถัดไป ซึ่งบางครั้งยานอนหลับอาจจะไปปิดบังอาการบางอย่างที่เกิดจากโรคอื่นได้ โดยทั่วไปอาการนอนไม่หลับจะต้องได้รับการวินิจฉัยที่เหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนได้รับการรักษาด้วยการรับประทานยา
ยานอนหลับสามารถใช้รักษาในภาวะต่าง ๆ ดังนี้
1. ความเครียด ซึ่งจะช่วยให้คนที่มีอาการนอนไม่หลับบ่อย ๆ และเกิดขึ้นตลอดช่วงเวลาที่เกิดความเครียดได้ ยานอนหลับจะช่วยป้องกันปัญหาการนอนหลับระยะยาวได้
2. การทำงานเป็นผลัด คนที่ทำงานเป็นกะ อาจจะเป็นคนหลับยาก บางครั้งจึงอาจต้องใช้ยานอนหลับเพื่อช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้น
3. การเดินทางไปต่างประเทศ การใช้ยานอนหลับเพื่อช่วยให้คุณหลับขณะอยู่บนเครื่องบินในระหว่างที่เดินทางช่วงกลางคืนจะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอาการง่วงเพลียระหว่างวันได้
4. การนอนไม่หลับเรื้อรัง ผู้ที่นอนไม่หลับควรรู้ว่ายานอนหลับส่วนมากจะออกฤทธิ์ดีที่สุดเมื่อใช้ยาน้อยกว่า 3 สัปดาห์ ซึ่งการที่ผู้ที่นอนไม่หลับมียานอนหลับไว้ในมือจะช่วยให้ผู้ที่นอนไม่หลับให้ผ่านช่วงเวลาที่มีอาการและลดความวิตกกังวลที่จะเกิดขึ้นตลอดช่วงเวลาที่นอนไม่หลับได้
การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
สำหรับคนที่นอนไม่หลับขอแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4 ข้อ ดังนี้
1. จำกัดการนอน การนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานานจะทำลายการนอนหลับ และ เป็นการเพิ่มความวิตกกังวล การจำกัดการนอนจะลดเวลาที่ใช้บนเตียง และ ช่วยให้การหลับมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ควบคุมสิ่งเร้า บางครั้งห้องนอนก็กลายเป็นสถานที่ทำงาน และ กิจกรรมอื่น เช่น ดูทีวี ฟังเพลง ดูยูทูบ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้มักจะทำให้นอนไม่หลับ ดังนั้นเมื่อถึงเวลานอน คุณควรจะควบคุมสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ เนื่องจากจะทำให้คุณตื่น การควบคุมสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้น ก็เพื่อที่จะทำให้ห้องนอนมีแรงจูงใจให้นอนหลับ และ นอนหลับได้เร็วขึ้น
ปัญหาการนอนหลับจะหมดไป หากควบคุมสิ่งกระตุ้นเหล่านี้
1. เข้านอนในขณะที่ง่วงเท่านั้น
2. รักษาเวลาตื่นนอนให้สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นวันทำงาน หรือ วันหยุด
3. หลีกเลี่ยงการงีบหลับในช่วงกลางวัน หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ สามารถงีบได้ แต่ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง และไม่ควรงีบหลัง 15.00 น.
การนอนหลับที่ดีควรทำอย่างไร
1. ทำกิจกรรมที่จะช่วยผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ
2. เข้านอนเมื่อรู้สึกง่วง
3. หากภายใน 20 นาที คุณไม่สามารถหลับได้ให้คุณลุกออกจากที่นอน
4. ตื่นตอนเช้าในเวลาเดิมทุกวัน
5. หลีกเลี่ยงการงีบในช่วงกลางวัน
6. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหลังมื้อเที่ยง
7. ไม่สูบบุหรี่ ก่อนเข้านอน
8. ไม่ควรปล่อยให้หิวก่อนนอน
9. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนักภายใน 6 ชั่วโมงก่อนนอน
10. หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ
11. ใช้เวลาระหว่างวันจัดการกับสิ่งที่ทำให้คุณกังวล
12. ทำห้องนอนให้เงียบสงบ มือ และ เย็นสบาย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก..
1. https://www.pobpad.com/นอนไม่หลับ
2. https://www.sleepcenterchula.org/index.php/en/component/k2/item/20-insomnia