HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคคาวาซากิคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคคาวาซากิ 

โรคคาวาซากิ (Kawasaki’s Disease)  เป็นโรคที่เกิดการอักเสบของเยื่อบุผิวหนัง หลอดเลือดและต่อมน้ำเหลือง เป็นโรคที่พบมากในเด็กเล็กและทารก เป็นโรคที่ถูกค้นพบโดยกุมารแพทย์ชาวญี่ปุ่น โทมิซากุ คาวาซากิ  พบครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทย จากสถิติผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลเด็กปีละ 10,000 คน

โรคคาวาซากิ
CR. https://www.sciencemag.org/news/2014/05/mysterious-illness-may-be-carried-wind

จะพบผู้ป่วยเป็นโรคนี้ตั้งแต่ปีละ 5-27 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้ป่วยมักมีไข้สูง ผื่นคัน มือหรือเท้าบวม ผิวหนังลอกที่ฝ่ามือหรือฝ่าเท้า ปากแห้ง มีการอักเสบที่ปากและลำคอ ตุ่มขึ้นที่ลิ้น รวมถึงต่อมน้ำเหลืองบวม

ผู้ปกครองควรสังเกตอาการ และพามาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรกจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมและทันเวลา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจทำให้เกิดการอักเสบของหัวใจและหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ  ทำให้หลอดเลือดหัวใจมีลักษณะโป่งพอง ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตเฉียบพลันได้

โรคคาวาซากิ สาเหตุ

– สาเหตุการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด มีเพียงปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ดังต่อไปนี้

– ผู้ป่วยจะมีอาการของโรค คล้ายกับอาการของการติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรีย แต่โรคจะไม่แพร่กระจายจากคนสู่คน พันธุกรรม สมาชิกในครอบครัวเป็นโรคคาวาซากิจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากถึง 10 เท่า

– ชาติพันธุ์ โรคคาวาซากิมักพบมากในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น และเกาหลี

– ระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะในร่างกาย

– ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด มลพิษ สารพิษ หรือสารเคมี

 

การวินิจฉัย โรคคาวาซากิ

ประเมินอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย การจะวินิจฉัยโรคนี้ได้ผู้ป่วยต้องมีอาการไข้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุเป็นเวลานานอย่างน้อย 5 วัน ร่วมกับอาการ

การวินิจฉัย โรคคาวาซากิ
CR. https://www.pinterest.de/pin/369576713168200787/

– อาการตาบวมและแดง โดยไม่มีขี้ตาทั้งสองข้าง

– ริมฝีปากแห้งแตก บวมแดง ลิ้นบวม ปากและคอแห้ง

– มีอาการปวด บวม ที่มือหรือเท้า หรือผิวหนังลอกที่ฝ่ามือหรือฝ่าเท้า

– ผื่นแดงคันตามลำตัว

– ต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณลำคอโต คลำได้

อาจมีการวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบผลกระทบของโรคคาวาซากิที่มีต่อหัวใจ เช่น

– การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiograph) หรือการทำเอคโคหัวใจ เป็นขั้นตอนการจำลองภาพของหัวใจและหลอดเลือดด้วยคลื่นเสียง เพื่อตรวจดูว่ามีลักษณะหลอดเลือดหัวใจผิดปกติหรือไม่

– การตรวจเลือด (Blood Tests) ในผู้ป่วยโรคคาวาซากิ

– การเอกซเรย์ (X-Ray) ที่บริเวณหน้าอกเพื่อตรวจสัญญาณเตือนของภาวะหัวใจล้มเหลว

– การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) เพื่อดูว่ามีภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่

– การตรวจปัสสาวะ ในผู้ที่เป็นโรคคาวาซากิอาจพบเม็ดเลือดขาวปนในปัสสาวะ

 

โรคคาวาซากิ อาการ

1. อาการจะเริ่มจากการมีไข้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยมักมีอาการไม่สบายตัวและในช่วงที่มีไข้ผู้ป่วยมักมีอาการตาแดงโดยไม่มีขี้ตา และมีผื่นได้หลายรูปแบบ

2. บางครั้งอาจคล้ายกับผื่นในโรคหัด โรคไข้อีดำอีแดง ผื่นลมพิษหรืออาจพบเป็นลักษณะผื่นนูนก็ได้ โดยผื่นมักขึ้นบริเวณลำตัว แขนขา หรือบริเวณที่สวมใส่ผ้าอ้อม

3. มีการเปลี่ยนแปลงบริเวณช่องปาก ได้แก่ การมีปากแดงแห้งแตก ลิ้นเป็นสีแดงคล้ายผลสตรอเบอร์รี่ หรือมีลำคอแดง

4. มือและเท้ามักมีอาการบวมแดง ต่อมามักมีการลอกของผิวหนังบริเวณปลายนิ้วมือปลายนิ้วเท้าในช่วงสัปดาห์ที่ 2-3 ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีต่อมน้ำเหลืองที่คอข้างใดข้างหนึ่งโต มักเป็นเพียงต่อมเดียวและมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร

5. ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดข้อหรือข้อบวม ปวดท้อง ถ่ายเหลว ดูไม่สบายตัวหรือมีอาการปวดศีรษะได้

6. และมีอาการทางระบบหัวใจ ซึ่งเป็นอาการที่รุนแรงของโรคคาวาซากิเนื่องจากอาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวได้ โดยแพทย์อาจพบความผิดปกติของหัวใจจากการตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์หรือการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง การอักเสบที่หัวใจนี้อาจทำให้มีการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ หรือลิ้นหัวใจ

โรคคาวาซากิ การรักษา

อาการเนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ แน่ชัด การรักษาจึงใช้วิธีรักษาประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ วิธีหลัก ๆ ในการรักษาโรคคาวาซากิมีด้วยกัน 2 วิธีคือ การให้อิมมิวโนโกลบูลิน และการใช้ยาแอสไพริน า ในช่วงที่มีไข้ใน 10 วันแรก จะต้องตรวจหัวใจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อดูลักษณะหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

 

– การให้อิมมิวโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) ทางหลอดเลือดดำ เป็นแอนติบอดี้ที่มีหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย และช่วยลดปฏิกิริยาการอักเสบในร่างกาย และการให้อิมมิวโนโกลบูลินจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจได้ด้วย

– การใช้ยาแอสไพริน (Aspirin) เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด ลดไข้ ลดอาการบวม ลดการอุดตันของเกล็ดเลือด และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับหลอดเลือดหัวใจ

– ยาอินฟลิซิแมบ ในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดหัวใจโป่งพอง

– ยาต้านลิ่มเลือด เช่น ยาโคลพิโดเกรล หรือยาไดไพริดาโมล ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด

– ยากันเลือดแข็งตัว เช่น ยาวาร์ฟาริน หรือยาฮาเพริน ในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดโป่งพองขนาดใหญ่ที่เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด

ภาวะแทรกซ้อนของโรคคาวาซากิ

1.ทางระบบหัวใจและหลอดเลือดพบได้บ่อยถึง 31% ในญี่ปุ่นพบเส้นเลือดหัวใจโป่งพองถึง 20% กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบก็พบได้ อันตรายอาจทำให้เสียชีวิตได้

ดังนั้นเด็กที่เป็นโรคนี้ควรได้รับการตรวจหัวใจและหลอดเลือดทุกคน เพื่อป้องกันโรคแทรกนี้ และควรได้รับการตรวจเป็นระยะ ๆ ใน 2 เดือนแรก

2.ทางระบบอื่น ๆ ได้แก่ อาการทางไต สมอง ถุงน้ำดี ฯลฯ

3.ผื่นแดงที่ผิวหนัง มือบวม

 

โรคคาวาซากิหากรักษาหายแล้ว สามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกได้หรือไม่

อาจมีโอกาสที่จะกลับเป็นซ้ำอีกได้ โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 3% แต่ก็ถือว่ามีน้อยมาก ของผู้ที่เป็นโรคนี้ จะกลับเป็นซ้ำได้อีกภายใน 2 ปี หากเลย 10 ปีไปแล้ว แทบไม่พบการกลับเป็นซ้ำอีก โดยปกติแล้ว เมื่อพ้นระยะ 8 สัปดาห์ไปแล้ว

หากไม่ได้มีอาการอะไรอีก และไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ก็จะถือว่าหายจากโรค และหลังจากนั้นอีก 1 ปี แพทย์อาจทำการตรวจหลอดเลือดหัวใจซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีความผิดปกติเกิดขึ้น

 

หากสงสัยว่าลูกเป็นโรคคาวาซากิคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร

โรคคาวาซากิ การป้องกัน
CR. https://www.thenationaltriallawyers.org/2015/09/5-million-verdict-against-pediatrician-who-treated-fatal-disease-with-tylenol/

หากลูกมีอาการที่เข้าได้กับโรคนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปปรึกษาคุณหมอเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรับการรักษาอย่างทันท่วงที ก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดหัวใจ โดยคุณหมอจะทำการซักถามประวัติ และตรวจร่างกายเพื่อสืบหาอาการและอาการแสดงที่เข้าได้กับโรคตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ร่วมกับการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม

 

โรคคาวาซากิ การป้องกัน

1. ดูแลร่างกายให้แข็งแรง  รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และ การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง จะช่วยส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเรา สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. การดูแลให้ลูกน้อย มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้เหมาะกับวัยของลูก

3. คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลให้ลูกมีการนอนหลับพักผ่อน ที่เพียงพอเหมาะกับอายุของลูก การพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนเรา จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. เน้นรับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติกส์

สำหรับโปรไบโอติกส์ที่ได้จาก โยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยว ถือได้ว่าเป็นเชื้อแบคทีเรีย ที่ส่งผลดีต่อร่างกายของเราทุกคน อีกทั้งโปรไบโอติกส์ยังช่วยป้องกันเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราได้อีกด้วย อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ

ขอบคุณข้อมูลจาก..
1. https://www.pobpad.com/โรคคาวาซากิ
2. https://th.wikipedia.org/wiki/โรคคาวาซากิ
3. https://www.pobpad.com/โรคคาวาซากิ