โรคถุงลมโป่งพองคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน
Table of Contents
โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)
โรคถุงลมโป่งพองในประเทศไทย มีแนวโน้มสูงขึ้น และ เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตในลำดับต้น ๆ ของประชากรไทย ซึ่งเกิดจากการอักเสบ และ แตกของเนื้อปอดที่บริเวณถุงลมปอด จึงทำให้เนื้อปอดมีถุงลมเล็ก ๆ มากมาย
คล้ายพวงองุ่น และ เมื่อรวมกับถุงลมที่อยู่ติดกันจนกลายเป็นถุงลมขนาดใหญ่ จึงทำให้มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนในปอดลดลง ทำมีอากาศค้างในปอดมากกว่าปกติ และ หากมีความผิดปกติมากขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยถุงลมโป่งพองมีอาการหายใจตื้น
ในจำนวนผู้ที่สูบบุหรี่ 10 ล้านคน จะมีผู้ป่วยถุงลมโป่งพองกว่า 1 ล้านคน และมีจำนวน 300,000 คน ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และ มีผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิตปีละประมาณ 15,000 คน
สาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง
การสูบบุหรี่ ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งแพทย์ก็ยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงว่าการสูบบุหรี่ทำลายถุงลมในปอดได้อย่างไร โดยพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นถุงลมโป่งพองมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 6 เท่า
สาเหตุหลัก ๆ ของโรคถุงลมโป่งพอง คือ การสัมผัส หรือ การได้รับสิ่งกระตุ้นทางอากาศอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานาน ได้แก่
– การสูบบุหรี่ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดถุงลมโป่งพอง
– ควันพิษหรือสารเคมีจากโรงงาน หรือการทำงานในเหมืองแร่ หากหายใจเข้าไปก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เกิดถุงลมโป่งพองได้มากขึ้น และยิ่งถ้าสูบบุหรี่ด้วยแล้วก็จะยิ่งมีโอกาสเพิ่มขึ้นไปได้อีก
– มลพิษในอากาศ เช่น ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง หากเราหายใจเข้าไปก็จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดถุงลมโป่งพอง
อาการของโรคถุงลมโป่งพอง
อาการของโรคถุงลมโป่งพอง จะมีอาการหายใจตื้นและไอ ซึ่งอาการไอก็จะเป็นลักษณะการไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ ผู้ป่วยที่เป็นถุงลมโป่งพองมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น เพราะอาการจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งผู้ป่วยจะไม่สังเกตเห็นอาการใด ๆ ผู้ป่วยมักหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่จะทำให้หายใจตื้น แต่หากมีอาการรุนแรงจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจตื้น และ ไม่ได้ทำกิจกรรมใด ๆ
-อาการอื่น ๆ ของโรคถุงลมโป่งพอง ได้แก่
-เหนื่อยง่าย
-น้ำหนักตัวลด
-เกิดภาวะซึมเศร้า
-หัวใจเต้นเร็ว
-หากมีอาการหายใจตื้นเป็นเวลานาน หลายเดือน และ มีอาการที่แย่ลง หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์
การวินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพอง
แพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่หรือ ผู้ที่ทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต้องเจอกับมลภาวะหรือควันพิษ เมื่อสอบถามประวัติแล้วแพทย์ก็จะทำการตรวจเพิ่มเติม
-ตรวจเลือด เพื่อดูปริมาณออกซิเจน และ คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด
-การตรวจด้วยเครื่อง CT-SCAN หรือ การ X-Ray
-ตรวจด้วยเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด
-ตรวจการทำงานของปอด เพื่อวัดปริมาตรอาการที่เข้าและออกจากปอด โดยการให้เป่าเครื่องสไปโรมิเตอร์ (Spirometer)
-ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อให้แน่ใจว่าอาการที่เกิดไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ
การรักษาโรคถุงลมโป่งพอง
การรักษาจะเน้นไปที่การลดอาการ หรือ ชะลอการดำเนินการของโรค เนื่องจากโรคถุงลมโป่งพองเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
การรักษาโรคถุงลมโป่งพองด้วยยา
1. ยาสเตียรอย ยาจะมีทั้งรูปแบบของยารับประทาน ยาให้ทางหลอดเลือด หรือยาพ่น ซึ่งเป็นยาที่ใช้ลดการอักเสบในปอด
2. ยาขยายหลอดลม (Bronchodilators) จะช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อทางเดินหายใจ โดยยาจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ Bota Agonists และ Anticholinergics
3. ยาพอสโฟไอเอสเทอเรส-4 อินฮิปิเตอร์ (_hosphodiesterase-4 Inhibitor) สามารถลดโอกาสกำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รุนแรง เป็นยารับประทานที่ช่วยต้านการอักเสบ
4. ยาปฏิชีวนะ นำมาใช้เพื่อรักษาการกำเริบของโรคในกรณีที่มีภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้อาการถุงลมโป่งพองแย่ลง
5. การฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากการได้รับวัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดการติดเชื้อในปอดที่รุนแรงได้
การบำบัด
1. การบำบัดด้วยออกซิเจน ในขณะที่ออกกำลังกาย หากผู้ป่วยมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้นานยิ่งขึ้น
2. ดูแลเรื่องอาหารการกิน ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองที่เป็นมานาน จะมีน้ำหนักตัวลดลง เมื่อน้ำหนักตัวลดลงก็จะทำให้แรงหรือกำลังที่ใช้ในการหายใจลดลงจึงต้องกินเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กลับสู่ภาวะปกติ
3. การออกกำลังกายที่มีความหนักในระดับปานกลาง เช่น การเดินจะช่วยให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น ทำให้เสามารถหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น การฝึกหายใจลึก ๆ ก็จะช่วยบรรเทาอาการได้ดี
4. การผ่าตัด วิธีนี้จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากเท่านั้น โดยการนำชิ้นส่วนของปอดที่ได้รับความเสียหายออก หรือทำการปลูกถ่ายปอด แต่จะพบได้น้อย
5. การปรับพฤติกรรมของผู้ป่วย โรคถุงลมโป่งพองในการใช้ชีวิต
6. ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ
7. เลิกสูบบุหรี่ หรือ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่
8. หลีกเลี่ยงฝุ่นควันพิษ น้ำหอม และ พยายามล้างเครื่องปรับอากาศให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อที่จะไม่ทำให้ปอดเกิดการระคายเคือง
9. หลีกเลี่ยง และ ป้องกันโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ
ภาวะแทรกซ้อนของโรคถุงลมโป่งพอง
– การติดเชื้อที่ปอด ทำให้เกิดปอดบวม
– เกิดถุงลมที่พองตัวผิดปกติ ซึ่งสามารถพองตัวใหญ่ได้ประมาณครึ่งหนึ่งของปอด และ มีโอกาสทำให้ปอดแตกได้ มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจห้องขวาล้มเหลว เนื่องจากถุงลมโป่งพองสามารถเพิ่มความดันโลหิตของหลอดเลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ
– ภาวะที่โพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ เป็นภาวะที่สามารถเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เพราะการทำงานของปอดได้ถูกทำลายไปบ้างแล้ว
การป้องกันถุงลมโป่งพอง
การป้องกันโรคถุงลมโป่งพองที่ดีที่สุด คือ การเลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น ควรหลีกเลี่ยง หรือ สวมหน้ากากป้องกันตัวเอง จากควันและสารพิษที่เป็นอันตราย
การตรวจพบโรคได้อย่างทันท่วงทีเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นทุกคนจึงควรหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีกันทุกปี เพราะหากเราเจอโรคเร็วเราก็จะรักษาได้ทันท่วงที อย่างเช่น โรคถุงลมโป่งพองในรายที่ปอด และ หัวใจได้รับความเสียหายอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ขอบคุณข้อมูลจาก..
1. https://medthai.com/ถุงลมโป่งพอง/
2. https://www.honestdocs.co/emphysema-2
3. https://www.pobpad.com/ถุงลมโป่งพอง