HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคกลัวรูคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคกลัวรูคือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคกลัวรู

โรคกลัวรูคือ โรคที่เกิดจากภาวะความกลัว เมื่อพบเห็นรูต่าง ๆ เต็มไปด้วยรูเล็ก ๆ และมีลักษณะตะปุ่มตะป่ำ รูกลวงโบ๋หรือนูน ๆ มีเม็ดโผล่ขึ้นมา หรือรูที่โผล่ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย

โรคกลัวรู

รวมไปถึงภาพธรรมดาทั่วไปแต่มีรูปรากฏอยู่ ได้แก่ ฟองน้ำ ปะการัง เมล็ดพืช หรือแม้แต่วงกลมตามร่างกายของสัตว์เลยทีเดียว เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งความกลัวที่เกิดขึ้นนั้น

อาจสัมพันธ์กับประสบการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นในวัยเด็กมาก่อน เนื่องจากสมองนำภาพไปเชื่อมต่อกับเหตุการณ์หรือสิ่งที่จดจำในอดีตที่ส่งผลต่อร่างกายหรือ ความรู้สึกได้ เห็นแล้วจะรู้สึกเกิดอาการคัน ขนลุก หรือรู้สึกขยะแขยง บางคนถึงขั้นตัวสั่น อาเจียน เข่าอ่อน และไม่สบายได้

สาเหตุโรคกลัวรู

โรคกลัวรูเกิดจากสมองได้นำภาพรูหรือเม็ดที่ปรากฏไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่คิดว่าต้องอันตราย ทั้ง ๆ ที่ทราบว่าสิ่งที่เห็นนั้นไม่สามารถมีอันตรายหรือทำอันตรายได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะคนที่เป็นอาการแบบนี้เคยผ่านการมีประสบการณ์อันเลวร้ายเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นขึ้นจากในวัยเด็กมาก่อนก็ได้

หรืออาจมีความผิดปกติที่เกี่ยวกับการทำงานของสมอง รวมถึงมีสภาพแวดล้อมและพันธุกรรมในครอบครัวที่มีความวิตกกังวลมากเกินไป แม้ในปัจจุบัน สาเหตุของการเกิดโรคกลัวรูยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ปัจจัยต่อไปนี้อาจส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยเป็นโรคกลัวรู้ได้

-เคยเผชิญหน้าหรือมีประสบการณ์ในอดีตที่ไม่ดีเกี่ยวกับวัตถุที่มีรู

-มีความผิดปกติทางสมอง หรือการทำงานของสมองเปลี่ยนไป

-ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวลทั่วไป

-พันธุกรรมและสภาพแวดล้อมในครอบครัว โรคกลัวรูอาจสัมพันธ์กับโรคกลัวหรือโรควิตกกังวลของพ่อแม่ หรืออาจเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้

 

ทดสอบโรคกลัวรู ทำได้ด้วยวิธีนี้

การทดสอบโรคกลัวรู้นั้นสามารถทดสอบได้ง่าย ๆ ด้วยการดูภาพหรือคลิปวิดีโอที่มีรูปรูตะปุ่มตะป่ำ หากเกิดอาการอึดอัด หวาดกลัว จนไปถึงรู้สึกคลื่นไส้ หรือรู้สึกอยากอาเจียน นั่นก็แปลว่าคุณกำลังเป็นโรคกลัวรูแล้วล่ะค่ะ และวันนี้เราก็มีตัวอย่างคลิปวิดีโอทดสอบอาการโรคกลัวรูมาฝากกันด้วย ถ้าพร้อมจะทดสอบแล้วเราไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ

 

รับมืออย่างไรหากมีอาการของโรคกลัวรู

การรับมือกับโรคกลัวรูมีหลายวิธี ในเบื้องต้นควรดูแลตนเอง เพื่อคลายความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจากโรคกลัวรูโดยปฏิบัติตามวิธีต่อไปนี้

รับมืออย่างไรหากมีอาการของโรคกลัวรู

-ทำกิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและลดความเครียด เช่น หายใจเข้าออกลึก ๆ ฝึกสติหรือทำสมาธิ และเล่นโยคะ

-ออกกำลังกายที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยลดความวิตกกังวล

-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีน

-นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ

-ค่อย ๆ ฝึกเข้าใกล้สิ่งของหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้รู้สึกกลัวให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาจให้รางวัลตนเองหากอาการดีขึ้น เพื่อเป็นกำลังใจในการรักษาต่อไป

-เข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง เพื่อแบ่งปันประสบการณ์กับผู้ป่วยรายอื่น ๆ ซึ่งอาจช่วยส่งเสริมให้เข้าใจสถานการณ์และอาการของโรคได้ดีขึ้น จนเกิดการบำบัดรักษาที่มีประสิทธิผลที่ดี

-หากดูแลตนเองแล้วอาการกลัวยังไม่ดีขึ้น รู้สึกวิตกกังวล หรือมีข้อสงสัย ควรไปปรึกษาจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิต เพื่อรับการบำบัดหรือหาแนวทางในการรักษาและควบคุมจัดการความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นต่อไป

 

การวินิจฉัยโรคกลัวรู

โดยทั่วไปแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้จากการซักประวัติและพูดคุยกับผู้ป่วย ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยจะต้องเล่าอาการต่าง ๆ ให้แพทย์ฟังให้มากที่สุด และตอบคำถามที่แพทย์ถามเพิ่มเติมอย่างละเอียดและตรงไปตรงมาเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องทั้งนี้ ผู้ป่วยจะกลัวบางสิ่งบางอย่างอย่างรุนแรง ไม่สมเหตุสมผล

การวินิจฉัยโรคกลัวรู

โดยที่ผู้ป่วยรู้ตัวดีว่าไม่จำเป็นจะต้องกลัวขนาดนั้นแต่ควบคุมตัวเองไม่ได้ เมื่อพบเจอสิ่งที่กลัวก็จะมีอาการดังกล่าวข้างต้นจนก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจส่งผลให้คิดทำในสิ่งที่ไม่ดี เช่น พยายามฆ่าตัวตาย โดยอาการเหล่านี้เกิดขึ้นติดต่อกันมาอย่างน้อย 1 เดือน

 

อาการของโรคกลัวรู

เมื่อเห็นภาพที่มีรูหรือเม็ดที่กลวง มักจะมีอาการขยะแขยง สะอิดสะเอียน คลื่นไส้ อาเจียน ขนลุก ตัวสั่น อึดอัด เป็นลม และช็อกในที่สุด

 

เมื่อกังวลว่าลูกน้อยเป็นโรคกลัวรู

-ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ลูกน้อยรับมือกับความกลัวที่เกิดขึ้น หากบุตรหลานมีอาการของโรคกลัวรู พ่อแม่ผู้ปกครองอาจลองปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้

-พูดคุยและรับฟังความคิด ความรู้สึกกลัว หรือความวิตกกังวลต่าง ๆ ของเด็ก โดยพยายามสื่อสารให้เด็กเข้าใจว่า ความรู้สึกกลัวนั้นเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน

-จำลองสถานการณ์และแสดงวิธีรับมือเมื่อต้องเผชิญกับสิ่งที่เด็กกลัว เพื่อให้เด็กเรียนรู้และควบคุมความกลัวได้

-ฝึกให้เด็กเข้าใกล้สิ่งที่กลัวทีละน้อย เพื่อเรียนรู้วิธีจัดการกับความกลัว แล้วค่อย ๆ ขยับเข้าใกล้สิ่งนั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีพ่อแม่ผู้ปกครองคอยให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด จนเด็กไม่รู้สึกกลัวอีกต่อไป

 

โรคกลัวรูเป็นโรคกลัวชนิดหนึ่งหรือไม่

สมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) ไม่จัดว่าอาการกลัวรูเป็นโรคกลัว (Phobia) เพราะผู้ป่วยโรคกลัวอาจรู้สึกกลัวสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นอันตราย เช่น กลัวความสูง เครื่องบิน เลือด เข็ม แมลง สุนัข หรือตัวตลก เป็นต้น

โดยผู้ป่วยจะมีอาการกลัวอย่างรุนแรง รู้สึกพะอืดพะอม วิตกกังวลทันทีที่เห็นหรือนึกถึงสิ่งที่กลัว และมีอาการกลัวเพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าใกล้วัตถุนั้น บางรายอาจควบคุมความรู้สึกกลัวไม่ได้ จนไม่สามารถทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ

แต่ผู้ที่เป็นโรคกลัวรูนั้นจะรู้สึกรังเกียจหรือขยะแขยงเมื่อเห็นภาพรูที่ถูกตกแต่งให้มีระดับความต่างของแสงสูง นอกจากนี้ จิตใต้สำนึกของผู้ป่วยอาจเชื่อมโยงกับสิ่งที่มีลักษณะเป็นรู

ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกลัวได้แม้สิ่งนั้นจะไม่อันตราย ซึ่งจากการวิจัยบางส่วนพบว่า ผู้ที่กลัวรูไม่ได้รู้สึกกลัวสัตว์มีพิษ แต่จะกลัวรูปร่างของสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายรู เช่น หมึกสายวงน้ำเงินที่มีจุดวงกลมคล้ายแหวนสีน้ำเงินขึ้นตามลำตัว เป็นต้น

 

การรักษาโรคกลัวรู

-โรคกลัวรูเป็นโรคที่เกิดจากภายในจิตใจไม่ใช่มาจากทางกาย มีต้นเหตุมาจากความกลัวที่เกิดมาจากจิตใจ ดังนั้นจึงไม่สามารถรักษาด้วยการใช้ยาเพื่อให้กายหายป่วยได้ เพราะฉะนั้นการรักษาที่ถูกวิธีจึงจำเป็นต้องรักษาด้วยการไปพบจิตแพทย์เท่านั้น

และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรีบไปพบแพทย์เมื่อมีอาการอย่างรุนแรง เช่น กลัวจนมีอาการซึมเศร้า หรือกลัวติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือนก็ยังไม่หาย และกลัวแบบชนิดไม่มีเหตุผล เพราะกระทบกับสภาพจิตใจจนทำให้ป่วยกายหรือมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน

-หากมีอาการซึมเศร้าจิตแพทย์อาจต้องใช้ยาร่วมด้วย ทั้งนี้การรักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าร่วมกับการบำบัดทางจิตวิทยาให้ชนะความกลัวจะต้องทำควบคู่กันไป ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของจิตแพทย์ว่าควรจะต้องทำอย่างไร

 

การป้องกันและการดูแลตนเอง

-ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและลดความวิตกกังวลได้ หรืออาจเล่นโยคะที่จะเป็นการฝึกจิตใจหรือสมาธิ ทำให้จิตใจผ่อนคลายและลดความเครียด

-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ สารเสพติดต่าง ๆ และคาเฟอีน

-พักผ่อนให้เพียงพอทุกวัน ช่วยทำให้จิตใจสดชื่นแจ่มใส

-หากรู้สึกตัวว่ามีอาการของโรคกลัวรูแล้ว ควรเข้ากลุ่มที่มีการบำบัดโรคนี้ จะช่วยให้มีความเข้าใจในโรคได้ดีขึ้น และการบำบัดก็จะได้ผลมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

-ฝึกเข้าใกล้สิ่งของหรือสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกกลัวบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความคุ้นชิน และพยายามให้กำลังใจตัวเองโดยไม่ท้อแท้ เพื่อให้การบำบัดรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่องและได้ผล

-ถ้าทำแล้วยังไม่ดีขึ้นจะต้องรีบไปพบจิตแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำและได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

 

บทสรุป

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับโรคกลัวรู หากมีคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ควรถือว่าเป็นเรื่องตลกขบขัน หรือแปลกไปจากคนอื่น

ควรศึกษาหารายละเอียดต่าง  ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและการปฏิบัติตัวสำหรับโรคกลัวรูอย่างถูกต้องและเหมาะสม หากมีอาการที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายได้

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก..
1. https://www.honestdocs.co/what-is-trypophobia
2. https://www.pobpad.com/โรคกลัวรู-กลัวจริง-หรือจ