ปวดท้องข้างขวา เรื่องที่มองข้ามไม่ได้
ชีวิตไม่เที่ยง เมื่อวานแข็งแรง วันนี้อาจจะเจ็บป่วยก็ได้ หากไม่ใส่ใจดูแลและให้ความสำคัญกับสุขภาพ การเจ็บป่วยก็จะคุกคามได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อมองข้ามคิดว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเล็กน้อย เดี๋ยวก็หายเอง เป็นบ่อยแล้ว เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เอง เช่น การปวดท้อง ซึ่งจริง ๆ แล้วร่างกายกำลังส่งสัญญาณถึงการเจ็บป่วยที่ต้องการการดูแลรักษา ปวดท้องข้างขวา ขอให้นึกเอาไว้อยู่เสมอว่า ในทุก ๆ อาการปวดท้องย่อมต้องมีต้นสายปลายเหตุทั้งสิ้น
Table of Contents
สาเหตุของการปวดท้องข้างขวา
หากมีอาการปวดท้อง ไม่ว่าจะเป็นปวดท้องด้านซ้าย หรือด้านขวา ย่อมสร้างความเจ็บปวดและทรมานให้กับร่างกายและจิตใจ เพราะภายในช่องท้องมีอวัยวะสำคัญต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นอย่าลืมสังเกตอาการปวดของตัวเอง เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรค ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินัยอย่างละเอียด และรับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะการปวดท้องด้านขวา ซึ่งอาจสามารถบ่งบอกว่ากำลังมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ดังนี้
1.นิ่วในถุงน้ำดี
โรคนิ่วในถุงน้ำดี จะพบว่ามีอาการปวดใต้ชายโครงขวา มีอาการท้องเฟ้อบริเวณเหนือสะดือ เรอ คลื่นไส้ อาเจียน อาหารไม่ย่อย ซึ่งมักจะเป็นหลังรับประทานอาหารมัน ๆ ในกรณีนิ่วเคลื่อนไปอุดในท่อส่งน้ำดี จะมีอาการปวดบิดรุนแรงเป็นพัก ๆ ตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวา ปวดนานเป็นชั่วโมง ๆ และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาจปวดรุนแรงจนเหงื่อออก เป็นลม หรืออาจมีอาการดีซ่าน (ตาเหลือง) หลังอาการปวดท้อง เมื่อนำมือไปกดลงบริเวณที่มีอาการปวด อาจพบก้อนเนื้อแข็ง และอาจมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ตามมา
2.ตับอ่อนอักเสบ
ปวดท้องด้านขวาแล้วลามไปถึงแผ่นหลัง ซึ่งเป็นผลมาจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากจนเกินไป ส่งผลให้ตับอ่อนทำงานผิดปกติ และเกิดอาการตับอ่อนอักเสบได้
3.ไส้ติ่งอักเสบ
ไส้ติ่งอักเสบก็เป็นโรคเฉียบพลันที่อันตราย และต้องรีบมาพบแพทย์อย่างเร่งด่วนที่สุด อย่าปล่อยทิ้งไว้ โดยจะมรอาการปวดท้องแบบเสียดแน่น ตั้งแต่สะดือไปจนถึงท้องน้อยด้านขวา คลำดูแล้วเจอก้อนเนื้อนูนออกมา กดแล้วรู้สึกเจ็บ ปวดท้องมากขึ้นและมีอาการหนักขึ้นภายใน 6-24 ชั่วโมง ปวดขนาดที่ว่าหลับ ๆ อยู่ยังสามารถทำให้สะดุ้งตื่น และบางรายจะมีอาการท้องเสียติดต่อกัน 2 – 3 วัน ร่วมกับมีอาการอาเจียนติดต่อกันนานกว่า 12 ชั่วโมง หรือบางคนอาจจะท้องผูก มีอาการท้องอืดเฟ้อ มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ติดต่อกันมากกว่า 2 วัน ร่วมกับอาการปวดท้องด้านล่างขวา สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบด้วยซ้ำ แต่ส่วนใหญ่ที่พบจะอยู่ในกลุ่มคนที่อายุระหว่าง 10 – 30 ปี มากที่สุด
4.ลำไส้แปรปรวน
เมื่อการทำงานของลำไส้ผิดปกติ จะปวดท้องด้านขวาล่างแบบมวน ๆ คล้ายกับมีลมอยู่ในท้อง อาจเกิดจาก สามารถบรรเทาได้ด้วยการทานยาลดกรด
5.ลำไส้ใหญ่อักเสบ
มักจะมีอาการปวดท้องรุนแรง มีทั้งปวดเรื้องรังและเฉียบพลัน ด้านขวาส่วนกลาง ซึ่งมีระบบขับถ่ายที่ผิดปกติ หรือถ่ายเป็นเลือด หากตรวจพบก้อนเนื้อ อาจแสดงว่าเป็นเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ ควรรีบไปพบแพทย์
6.กรวยไตอักเสบ
บั้นเอวขวา เป็นตำแหน่งของท่อไต ไต ลำไส้ใหญ่ หากมีอาการปวดท้องไปจนถึงบริเวณบั้นเอวข้างขวา โดยอาการปวดท้องจะเป็นการปวดแบบแปล๊บ ๆ ปวดเกร็งเป็นระยะ ๆ แล้วร้าวมาที่ต้นขา บวกกับมีไข้ หนาวสั่น และปัสสาวะสีขุ่น แสดงว่าเป็นกรวยไตอักเสบ
7.ลำไส้เล็กอักเสบ
ปวดท้องใต้ซี่โครงขวา เสียดท้องอย่างรุนแรง ร่วมกับมีอาการจุกเสียด ซึ่งเกิดจากการแพ้โปรตีนกลูเต็น ส่งผลกระทบให้ลำไส้ไม่สามารถดูซึมอาหารได้ดีเหมือนปกติ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง หากปล่อยไว้นานจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น และอาจต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
8.ภาวะท้องเสียเรื้อรัง
จะมีอาการปวดท้องน้อยด้านขวาจี๊ด ๆ และท้องเสีย ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเพิ่มเติม ป้องกันการเป็นโรคลำไส้อักเสบ
9.ปีกมดลูกอักเสบ
จะมีอาการปวดท้องน้อยขวา ร่วมกับมีไข้สูง หนาวสั่น มีตกขาว นอกจากนี้หากคลำพบก้อนที่ท้อง ควรรีบมาพบแพทย์ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้
10.ท้องผูก
อาการปวดท้องข้างขวา แบบไม่ถ่าย เป็นสัญญาณเบื้องต้นของท้องผูก อาจมาจากการรับประทานผักและผลไม้น้อย หรือรับประทานยาที่ส่งผลข้างเคียงให้ท้องผูก
11.อาการปวดท้องข้างขวาตอนตั้งครรภ์
อาการปวดท้องข้างขวาในขณะที่กำลังจะมีเจ้าตัวน้อย หากว่าเป็นการปวดแบบเบา ๆ ก็เป็นเพราะตัวอ่อนเริ่มที่จะฝังตัวเข้าไปในมดลูกจะรู้สึกในช่วงที่ตั้งครรภ์แรก ๆ เท่านั้น หากว่ารู้สึกปวดท้องด้านขวามาก ๆ จนรู้สึกทนไม่ไหว แนะนำว่าให้รีบไปพบแพทย์เป็นการด่วน
การดูแลการปวดท้องข้างขวา ด้วยตัวเองเบื้องต้น
1.พักผ่อนให้พียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
2.งดการยกของหนัก มีการเกร็งของกล้ามเนื้อ และหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน
3.รับประทานอาหารอ่อน ๆ และสุกสะอาด
4.ดื่มน้ำมาก ๆ วันละ 8-10 แก้ว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่น การยืดหยุ่น กระตุ้นการทำงานของระบบต่าง ๆ
5.รับบประทานยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เพื่อบรรเทาอาการปวด
6.การลดการรับประทานอาหารที่มีไขมัน
7.การออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนและการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
8.ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เลือกอาหารที่มีเส้นใยธรรมชาติ เพื่อช่วยเรื่องระบบขับถ่าย ไม่ให้ท้องผูก
9.เมื่อมีโอกาสได้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดช่องท้อง อาจจะผ่าตัดไส้ติ่งออกไปด้วยเลย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในอนาคต
10.หากปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัสสาวะแสบขัด คลื่นไส้ อาเจียน รับประทานได้น้อยลง ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ
หากมีอาการร่วมดังต่อไปนี้ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรชะล่าใจ เช่น ปวดนานมากกว่า 6 ชั่วโมงแล้วอาการเป็นมากขึ้น ปวดท้องและอาเจียนอย่างมาก มากกว่า 3-4 ครั้ง ปวดท้องมากขึ้นเมื่อขยับตัว ปวดที่บริเวณท้องน้อยด้านขวา ปวดท้องรุนแรง นอนไม่ได้ มีไข้ร่วมด้วย เพื่อจะได้ทำให้รักษาได้ตรงจุด และจะส่งผลให้ประสบผลสำเร็จด้านการรักษามากยิ่งขึ้น เนื่องจากปวดท้องด้านขวา เสี่ยงไส้ติ่งอักเสบมากที่สุดอีกด้วย
ถึงแม้ว่าอาการปวดท้องที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นอาการเพียงเล็กน้อย อาการปวดท้องเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ โดยเฉพาะในผู้หญิงยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ แล้วอาการปวดท้องข้างขวา ที่เป็นแบบจี๊ด ๆ ปวดต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ปวดตุบ ๆ หรือปวดหน่วง ๆ การคาดเดาโรคยังทำได้ยาก เนื่องจากที่บริเวณท้องด้านขวาจะมีอวัยวะที่ไม่เหมือนกับด้านซ้าย และที่สำคัญช่องท้องเป็นจุดรวมอวัยวะภายในที่สำคัญต่อการดูดซึมสารอาหาร และขับของเสีย โดยเฉพาะ ตับ ม้าม ไต อาการปวดท้องจะมีหลายระดับ มีทั้งแบบเฉียบพลันหรือปวดเรื้อรัง ซึ่งหลังจากรับประทานอาหารก็สามารถมีอาการปวดท้องในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น นิ่วในถุงน้ำดี ไส้เลื่อน ไส้ติ่ง แผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ กรดไหลย้อน ตับอ่อนอักเสบ ตับอักเสบ กระเปาะลำไส้ใหญ่โป่งพองอักเสบ และโรคทางนรีเวช ที่สำคัญคือหากมีความทวีความรุนแรงขึ้น มีอาการปวดเฉพาะจุด ไม่ว่าจะเป็นปวดท้องข้างซ้าย หรือปวดท้องข้างขวา นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ฉะนั้นปวดท้องข้างขวา จี๊ดๆ ไม่ควรวางใจและรีบเดินทางไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินัยอย่างละเอียดโดยทันที healthdoo.today ก่อนที่อะไร ๆ จะสายเกินการควบคุม