HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

โรคอัลไซเมอร์คือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน

โรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ 

โรคอัลไซเมอร์ เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมองซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ โดยไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติเพราะผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์ทุกคน แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (beta-amyloid)

โรคอัลไซเมอร์
CR. https://www.drugtargetreview.com/news/36028/ai-algorithm-alzheimers/

ชนิดไม่ละลายน้ำซึ่งเมื่อไปจับกับเซลล์สมองจะส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง รวมถึงทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีน (acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ

 

การสะสมของเบต้า-อะไมลอยด์ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองค่อย ๆ ลดลง เริ่มจากสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ที่มีบทบาทสำคัญในการจดจำข้อมูลใหม่ ๆ เมื่อเซลล์สมองส่วนนี้ถูกทำลาย ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาเรื่องความจำโดยเฉพาะความจำระยะสั้น จากนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นจะแพร่กระจายไปสู่สมองส่วนอื่น ๆ และส่งผลต่อการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิด ภาษา และพฤติกรรมต่าง ๆ

โรคอัลไซเมอร์ 
CR. https://medicalxpress.com/news/2019-08-drug-early-instigator-alzheimer-disease.html

สาเหตุของการเกิดอัลไซเมอร์

อัลไซเมอร์เกิดจากการฝ่อตัวของสมองซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและการทำงานของสมองบริเวณนั้น ๆ ส่วนสาเหตุที่สมองฝ่อตัวลงนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด จากการสังเกตสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์พบว่ามีความผิดปกติที่คาดว่าจะเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงโรค คือมีการสะสมของอะไมลอยด์พลัค (Amyloid Plaques) ซึ่งเป็นสารโปรตีนผิดปกติชนิดหนึ่ง

 

มีกลุ่มใยประสาทที่พันกัน (Neurofibrillary Tangles) และสารสื่อประสาทอะซีติลโคลีน (Acetylcholine) ในสมองที่ไม่สมดุลกัน นอกจากนี้ยังพบว่าเส้นเลือดในสมองของผู้ป่วยโรคนี้มักค่อย ๆ ถูกทำลายลง ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ประสิทธิภาพของเซลล์ประสาทลดลงและถูกทำลายทีละน้อย และเมื่อเวลาผ่านไป

 

สาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์
CR. https://www.ohsu.edu/brain-institute/understanding-alzheimers-disease

ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงแพร่กระจายไปสู่สมองหลาย ๆ ส่วน

ซึ่งบริเวณที่จะได้รับผลกระทบเป็นส่วนแรกก็คือสมองที่ทำหน้าที่ด้านความทรงจำ

นอกจากข้อความข้างต้นแล้วยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของอัลไซเมอร์ มีดังนี้

คนแก่

-อายุ นับเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีส่วนทำให้เกิดการพัฒนาของโรค โดยโอกาสเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทุก ๆ 5 ปี หลังจากที่อายุล่วงผ่าน 65 ปีไปแล้ว ทั้งนี้ก็ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่จะเกิดโรคนี้ได้ เพราะประมาณ 1 ใน 20 ของผู้ป่วยก็มีอายุไม่เกิน 65 ปี โดยเป็นโรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดเร็วที่พบได้ในผู้ที่อายุตั้งแต่ประมาณ 40 ปี

-ประวัติของบุคคลในครอบครัว พันธุกรรมเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงต่ออัลไซเมอร์ กระนั้นก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยแม้จะมีผู้ป่วยในครอบครัว แต่หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวหลายคนประสบกับโรค ควรต้องรับการปรึกษากับแพทย์ถึงความเสี่ยงต่อโรคนี้เมื่ออายุมากขึ้น

-กลุ่มอาการดาวน์ เป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์สูง เนื่องจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุของกลุ่มอาการดาวน์นั้นสามารถทำให้เกิดการสะสมของอะไมลอยด์ขึ้นในสมองจนนำไปสู่อัลไซเมอร์ได้ในบางราย

-ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรงจะยิ่งเสี่ยงพัฒนาไปเป็นอัลไซเมอร์ยิ่งขึ้น

-โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคนี้มีปัจจัยการเกิดมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ทางที่ดีควรปรับเปลี่ยนด้วยการเลิกสูบบุหรี่ รับประทานอาหารมีประโยชน์ รักษาน้ำหนักให้ไม่มากเกิน ดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลง และตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและอัลไซเมอร์ไปในคราวเดียวกัน

 

อาการของโรคอัลไซเมอร์

อาการของโรคอัลไซเมอร์

-อาการเริ่มแรกของอัลไซเมอร์ อาจมีอาการหลงลืมหรือภาวะสับสนที่ค่อย ๆ พัฒนาไปอย่างช้า ๆ โดยใช้เวลาหลายปี ซึ่งบางครั้งมีความคล้ายคลึงกับโรคอื่นจนทำให้เกิดความสับสน และอาจเข้าใจผิดไปว่าเป็นเพียงอาการหลงลืมเมื่ออายุมากขึ้น ทั้งนี้อาการในผู้ป่วยแต่ละรายก็พัฒนาช้าเร็วแตกต่างกัน ทำให้สามารถคาดเดาได้ยากว่าอาการจะแย่ลงเมื่อใด

อาการของอัลไซเมอร์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

1.อาการระยะเริ่มแรก

อัลไซเมอร์ในช่วงเริ่มแรกอาจมีอาการดังนี้

-ลืมเกี่ยวกับบทสนทนาหรือเหตุการณ์ล่าสุด หรือวางของสลับที่

-ลืมชื่อสถานที่และวัตถุ หรือมีปัญหาในการคิดคำพูดที่ถูกต้อง

-ย้ำคิดย้ำทำเป็นประจำ เช่น ถามคำถามเดิม ๆ หลายครั้ง

-มักตัดสินใจผิดพลาด หรือยากที่จะตัดสินใจ

-ปรับตัวได้ช้าลง และลังเลที่จะลองสิ่งใหม่ ๆ

2.อาการระยะปานกลาง

เมื่ออัลไซเมอร์พัฒนามากขึ้น ปัญหาเกี่ยวกับความจำจะแย่ลง คนที่มีอาการอาจพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะจำชื่อคนที่พวกเขารู้จัก และพบปัญหาในการนึกถึงบุคคลในครอบครัวและเพื่อนของตนเองว่าใครเป็นใครและอาการอื่น ๆ อาจพัฒนาขึ้นร่วมด้วย เช่น

-สับสนและมึนงงมากขึ้น – ตัวอย่างเช่น หลงทาง หรือร่อนเร่ไปทั่ว ไม่ทราบว่าตอนนี้เวลาเท่าไหร่ หรือวันอะไร

-เกิดภาวะย้ำคิด ย้ำทำซ้ำ ๆ

-เกิดอาการหลงผิด (เชื่อสิ่งที่ไม่จริง) หรือรู้สึกหวาดระแวงและสงสัยในผู้ดูแลหรือแม้แต่สมาชิกในครอบครัว

-มีปัญหาเกี่ยวกับการพูดหรือภาษา (aphasia)

-นอนหลับไม่เต็มที่

-เกิดการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ เช่น อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ บ่อยครั้ง เกิดอาการซึมเศร้าและความรู้สึกกังวลมากขึ้น ผิดหวังหรือกระวนกระวายใจ อยู่ไม่เป็นสุข

-ยากที่จะทำงานเกี่ยวกับเรื่องพื้นที่ เช่น การกะระยะทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง

-เกิดภาพหลอน

3.อาการระยะสุดท้าย

ในระยะหลัง ๆ ของอัลไซเมอร์ อาการจะรุนแรงขึ้น น่าเป็นห่วงมากขึ้น และส่งผลกระทบรุนแรงมากขึ้นสำหรับผู้ป่วยเองและผู้ดูแล เพื่อน และครอบครัวของพวกเขาด้วย และอาการอื่น ๆ อาจเกิดขึ้นเมื่ออัลไซเมอร์พัฒนาไปสู่ระยะสุดท้าย เช่น

– เคี้ยวอาหารและกลืนได้ลำบาก (dysphagia)

– ยากที่จะเคลื่อนที่หรือเดินไปรอบ ๆ โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือ

– น้ำหนักตัวลดลงอย่างหนัก – แม้ว่าบางคนจะทานอาหารมากขึ้นก็ตาม

– กลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระไม่ได้ เกิดภาวะปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด (urinary/bowel incontinence)

– สูญเสียความสามารถในการสื่อสารมากขึ้นเรื่อย ๆ

– เกิดปัญหาสำคัญของทั้งความจำระยะสั้นและความจำระยะยาว

ในระยะที่รุนแรงของอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการดูแลตลอดเวลา และต้องได้รับความช่วยเหลือทั้งในการรับประทานอาหาร การขยับตัว การเคลื่อนย้ายตำแหน่ง และแม้แต่การเข้าห้องน้ำ

การรักษาโรคอัลไซเมอร์

ปัจจุบันอัลไซเมอร์ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงการใช้ยารักษาและการจัดการดูแลที่จะช่วยบรรเทาอาการด้านความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยได้เพียงชั่วคราว หรืออาจช่วยให้พัฒนาการของโรคช้าลงได้ในบางราย โดยการดูแลรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่สามารถทำได้มีดังนี้

– การดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันและการฝึกทักษะการเข้าสังคม โดยให้ผู้ป่วยได้ร่วมดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันของตนเองโดยมีผู้ดูแลคอยสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือตามขีดความสามารถของ ผู้ป่วย และสนับสนุนให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่มีส่วนร่วมในสังคมครอบครัวและสังคมภายนอกตามความเหมาะสม

– การดูแลปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ลดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้อาการแย่ลง เช่น เสียงรบกวน รวมถึงการปรับสภาพที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัยง่ายต่อการใช้งาน เช่น ให้พื้นเรียบ ไม่มีของเกะกะทางเดินและแสงสว่างเพียงพอ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ

– การให้ความรู้กับผู้ดูแลผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยจะเข้าสู่สภาวะที่ต้องพึ่งพา ผู้ดูแลเป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่ต้องเข้าใจการดำเนินของโรค และความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยในแต่ละระยะของโรค รวมไปถึงสนับสนุนการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วย

– การฟื้นฟูผู้ป่วยสมองเสื่อมด้านกายภาพ เนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการสมองเสื่อมอาจมีขีดความสามารถในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ลดลงการปรับอุปกรณ์ให้ง่ายต่อการใช้งานหรือปรับกิจกรรมให้เรียบง่ายและปลอดภัย รวมไปถึงการฝึกการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสโดยการบีบ จับ นวด การกระตุ้นกิจกรรมการเคลื่อนไหวจะทำให้ผู้ป่วยได้ฝึกสมรรถภาพทางกายภาพได้ดียิ่งขึ้น

– การดูแลด้านพฤติกรรมและจิตบำบัด ปัญหาเรื่องพฤติกรรมและอารมณ์เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย อาจต้องใช้การรักษาควบคู่กับการรักษาด้วยยาและพฤติกรรมและจิตบำบัด อาจใช้การให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเพื่อให้เข้าใจผู้ป่วยและมีวิธีการดูแลได้อย่างเหมาะสม เช่น การเบี่ยงเบนความสนใจผู้ป่วยออกจากเรื่องที่กำลังหงุดหงิดหรือโมโห การเสริมสร้างด้านอารมณ์ด้วยดนตรีบำบัด เป็นต้น

 

การป้องกันโรคอัลไซเมอร์

เนื่องจากสาเหตุการเกิดอัลไซเมอร์ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคได้ อย่างไรก็ตาม ยังพอมีหนทางที่อาจช่วยชะลอการเริ่มต้นของโรค คือการลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้จะยิ่งมีโอกาสเกิดอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดตามมา โดยควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

การป้องกันโรคอัลไซเมอร์
CR. https://alz.org.sg/5ways/

-หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสมอง เช่น ดื่มเหล้าจัด สูบบุหรี่

-หากิจกรรมเพื่อฝึกฝนสมองบ้าง เพื่อให้สมองได้ใช้ความคิดและต้องรู้จักจำข้อมูลบางอย่าง เช่น อ่านหนังสือ เล่นเกมที่ต้องใช้การวางแผนและตัดสินใจ เช่น หมากรุก หมากฮอส คิดเลข

-หากิจกรรมที่ทำให้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ต้องเชื่อมโยงกัน อาจเป็นการออกกำลังกาย หรือเต้นแอโรบิค เล่นโยคะ

-หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

-ลองเข้าสังคมหรือพบปะผู้คนบ้าง

-พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึกเกินไปเพราะจะทำให้สมองอ่อนล้า

-หักฝึกสมาธิ มีสติเมื่อต้องลงมือทำสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ

-ไปตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ เพื่อติดตามดูความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ และเพื่อป้องกันอัลไซเมอร์ไปด้วย

 

อย่างไรก็ตามการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มอัลไซเมอร์จำเป็นต้องดูแลรักษาในด้านกายภาพ ด้านจิตใจและพฤติกรรม ด้านการเข้าสังคม รวมไปถึงการให้ความรู้และสนับสนุนญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก..
1. https://www.drugtargetreview.com/news/36028/ai-algorithm-alzheimers/
2. https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/september-2018/alzheimer-disease
3. https://www.pobpad.com/อัลไซเมอร์
4. https://www.honestdocs.co/alzheimers-disease