โรคชิคุนกุนยา Chikungunya คือ สาเหตุ อาการ การดูแลรักษาและป้องกัน
Table of Contents
โรคชิคุนกุนยา
โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในตระกูล Togaviridae โดยมียุงลายสวน (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค
ซึ่งพบได้ทั่วไปทั้งในเมืองใหญ่และชนบท มักระบาดในช่วงฤดูฝน หรือในบริเวณที่มีน้ำขัง มักชุกชุมและออกหากินช่วงกลางวัน ส่งผลกระทบต่อคนทุกเพศทุกวัย มีอาการคล้ายคลึงกับไข้เลือดออก แต่ชิคุนกุนยาไม่อันตรายถึงชีวิต แต่จะมีอาการปวดข้อเรื้อรังต่อเนื่องเป็นเวลานานได้
สาเหตุโรคชิคุนกุนยา
ชิคุนกุนยาเกิดจากการถูกยุงลายตัวเมียที่มีเชื้อไวรัสกัด โดยเป็นยุงชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ซิกา เป็นยุงที่พบได้ทั่วไปทั้งในเมืองและต่างจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสวน เป็นยุงที่ออกหากินตอนกลางวัน มีลายขาวดำตามลำตัวและขา มักวางไข่ไว้ในน้ำสะอาด อย่าง น้ำฝน
ซึ่งขังอยู่ในกระถางต้นไม้ โอ่งเก็บน้ำ หรืออ่างน้ำ จากนั้นไข่ก็จะกลายเป็นตัวยุงภายใน 7 – 10 วัน ชอบเข้าไปอาศัยอยู่ในบ้าน ใกล้ ๆ บ้าน ในโรงเรียน หรือสถานที่ที่มีแสงแดดน้อย ในร่มเงา หรือในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น ผู้ป่วยสามารถกระจายไวรัสไปสู่คนอื่นถ้าหากโดนยุงกัดประมาณ 2-6 วันระหว่างที่กำลังป่วย
พาหะของโรค
พาหะของโรค (Vector) ได้แก่ยุงลายเช่นเดียวกับไข้เลือดออก กล่าวคือในสมัยก่อนชิคุนกุนยาจะมีพาหะนำโรคเป็นยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นตัวนำแพร่กระจายหลักและยุงลายสวน หรือยุงลายเสือ (Asian tiger mosquito) ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aedes albopictus แต่ในการระบาดครั้งนี้พบว่ายุงลายสวนเป็นสาเหตุสำคัญ
โดยมีสิ่งแวดล้อมทางภาคใต้เป็นแหล่งที่เหมาะอาศัยของยุงลายสวนเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะสวนยาง อย่างไรก็ตาม ยุงลายสวนยังสามารถพบได้บริเวณที่มีต้นไม้หนาแน่นและมาก เช่น ชานเมืองกรุงเทพมหานคร
ความแตกต่างระหว่างชิคุนกุนยากับโรคไข้เลือดออก
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาจะมีไข้สูงขึ้นอย่างเฉียบพลันกว่าโรคไข้เลือดออกและระยะเวลาของไข้สั้นกว่าประมาณ 2 วัน ในขณะที่ไข้เลือดออก ไข้จะลดลงในเวลาประมาณ 4 วัน และไวรัสชิคุนกุนยาไม่ทำให้พลาสม่ารั่วออกนอกเส้นเลือด
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่เกิดอาการช็อก นอกจากนี้ผู้ป่วยสามารถมีผื่นแดงเป็นปื้นและตาแดงได้บ่อยกว่าไข้เลือดออก รวมถึงพบอาการปวดตามตัว ตามข้อได้มากกว่า
การวินิจฉัยโรคชิคุนกุนยา
หากสงสัยว่า ผู้ป่วยอาจติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา แพทย์จะซักประวัติในเบื้องต้นว่า ผู้ป่วยได้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค หรืออยู่ในพื้นที่ที่มียุงจำนวนมากหรือไม่ โดยแพทย์จะต้องแยกความแตกต่างของการติดเชื้อจากโรคที่โดนยุงกัดที่คล้าย ๆ กัน
เช่น โรคไข้เลือดออก หรือโรคมาลาเรีย และอาจจะต้องแยกโรคออกจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไข้ฉี่หนู (ติดเชื้อจากการสัมผัสกับสัตว์) หรือภาวะแพ้ภูมิตนเองที่มีอาการคล้าย ๆ กัน เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โดยวิธีการตรวจมีดังนี้
1. การเพาะเชื้อจุลินทรีย์เพื่อแยกไวรัสออกจากเลือด การเพาะเชื้อจุลินทรีย์สามารถทำได้ระหว่างช่วงวันแรก ๆ ของการติดเชื้อ แต่ต้องใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ จึงจะทราบผล
2. ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ (RT-PCR) สามารถใช้เพื่อตรวจยีนชิคุนกุนยาในเลือดได้ โดยการตรวจสามารถทำภายใน 8 วันแรกของการติดโรค และใช้เวลา 1-2 วันจึงจะทราบผล
3. การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาแอนติบอดีของชิคุนกุนยา
วิธีการติดต่อ
ชิคุนกุนยาเกิดจากไวรัสติดต่อถึงคนโดยการกัดของยุงลายที่มีเชื้อโรค ติดต่อกันได้โดยมียุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัด และดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง
ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่ม จำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้
อาการของโรคชิคุนกุนยา
เนื่องจากโรคไข้เลือดออก และชิคุนกุนยามียุงลายเป็นพาหะเช่นเดียวกัน รวมถึงอาการที่แสดงออกยังคล้ายคลึงกัน จึงอาจพบผู้ป่วยเป็นทั้ง 2 โรคพร้อม ๆ กันได้ อย่างไรก็ตามชิคุนกุนยามีความรุนแรงน้อยกว่าโรคไข้เลือดออกมาก ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อชิคุนกุนยาจะมีไข้สูงขึ้นอย่างเฉียบพลันกว่าโรคไข้เลือดออก และระยะเวลาของไข้ก็สั้นกว่าเพียง 2 วันเท่านั้น
ขณะที่ไข้เลือดออก จะเป็นไข้นานถึง 4 วัน ส่วนใหญ่ไม่พบว่าผู้ป่วยชิคุนกุนยาเกิดอาการช็อก เพราะเชื้อชิคุนกุนยาไม่ทำให้ พลาสม่ารั่วออกนอกเส้นเลือด ทั้งนี้ยังพบผื่นแดงตามร่างกาย ตาแดง และภาวะปวดตามข้อได้มากกว่าผู้ป่วยไข้เลือดออกด้วย เชื้อชิคุนกุนยามีระยะฟักตัวของโรค 3-7 วัน หลังจากถูกยุงลายกัด และเมื่อครบระยะฟักตัว อาการจะแสดงออกดังนี้
– ไข้สูงเฉียบพลัน และอาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส หลังจากนั้น 2-3 วัน ไข้จะเริ่มลดลง
– ปวดข้อและเมื่อยกล้ามเนื้อ มีภาวะข้ออักเสบ โดยพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก แต่สามารถหายเองได้ใน 2 สัปดาห์ ในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปอาจมีภาวะปวดข้อเรื้อรังได้
– เกิดผื่นแดงตามแขนขาหรือทั่วร่างกาย
– ตาแดง
– รับประทานอาหารไม่ได้
– คลื่นไส้ อาเจียน และปวดศีรษะ
– อ่อนเพลีย หรืออาจท้องเสีย
– ภาวะแทรกซ้อนของชิคุนกุนยา
– ผู้ป่วยอาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น มีแผลตุ่มน้ำที่ผิวหนัง มีเลือดออก เป็นต้น โดยผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคล้ายกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในหลายเดือนต่อมา เช่น ปวดข้อ ข้ออักเสบ เอ็นหุ้มข้ออักเสบ เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนบางอย่างที่อาจรุนแรงแต่พบได้น้อย เช่น ม่านตาอักเสบ จอตาอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับอักเสบ ไตอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองและไขสันหลังอักเสบ เส้นประสาทสมองเป็นอัมพาต และกลุ่มอาการกิลแลงบาร์เร เป็นต้น
https://www.samitivejhospitals.com/th/ชิคุนกุนยา/
การรักษาโรคชิคุนกุนยา
ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาชิคุนกุนยาให้หายขาด และไม่มีวัคซีนป้องกันด้วยเช่นกัน วิธีการรักษานี้ จะใช้หลักการเดียวกันกับโรคไข้เลือดออก คือ การรักษาแบบประคับประคอง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน ร่วมกับป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ได้แก่
– การให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการ
– ดื่มน้ำให้เพียงพอ
– ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ
– ป้องกันไม่ให้ยุงกัด ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
– การป้องกันชิคุนกุนยา
วิธีป้องกันโรคชิคุนกุนยา
การป้องกันและควบคุมชิคุนกุนยา จะเน้นที่การลดจำนวนยุงในพื้นที่ และป้องกันการโดนยุงกัด โดยการลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงจะสามารถลดประชากรยุงได้เป็นอย่างมาก วิธีการง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ มีดังนี้
-เทน้ำออกจากภาชนะ เช่น จานรองใต้ไม้กระถาง แจกัน กะละมัง และรางน้ำฝน
-คลุมภาชนะใส่น้ำที่ไม่สามารถเทน้ำทิ้งได้ เช่น แท็งก์น้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ สำหรับการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน
-กำจัดยางรถยนต์เก่า ๆ ที่อาจถูกทิ้งไว้ข้างนอก
-ทิ้งขยะในถุงพลาสติกแบบปิด และในภาชนะแบบปิด
-ใช้ยาฆ่าแมลง เพื่อฆ่ายุงที่โตเต็มที่ หรือตัวอ่อนที่ยังไม่สมบูรณ์ บางเขตชุมชน และเมืองต่าง ๆ อาจมีการพ่นยาฆ่าแมลงด้วยเช่นกัน
ยุงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อของชิคุนกุนยา โดยส่วนมากมักจะเป็นยุงที่กัดตอนกลางวัน ซึ่งคนมักถูกกัดมากในช่วงใกล้ค่ำ แต่ยุงพวกนี้ยังมีการกัดในช่วงเวลากลางคืนเช่นเดียวกัน
แนะนำวิธีหลีกเลี่ยงการโดนยุงกัด
-ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หรือเสื้อผ้าที่ไม่เปิดเผยผิวหนัง
-ใช้ยาทากันยุงบนผิวหนังหรือบนเสื้อผ้า
-มีการติดตั้งอุปกรณ์ หรือฉากกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงบินเข้ามาในตัวอาคาร
-เมื่อนอนกลางวัน ควรนอนในมุ้งที่เคลือบด้วยยากันยุง
-ใส่มุ้งกันยุงรอบหน้าและคอของคุณของจากถุงมือหรือทายากันยุงถ้าคุณใช้เวลามากในพื้นที่กลางแจ้งในพื้นที่ที่มียุงชุม
-หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่มีประสบกับ การระบาด ของชิคุนกุนยา
-หากคุณเป็นชิคุนกุนยา ควรป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกยุงกัด เพราะเลือดของคุณสามารถทำให้ยุงติดเชื้อ และสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้
-คนที่ติดเชื้อชิคุนกุนยาจะมีความเสี่ยงสูงภายในสัปดาห์แรกของอาการป่วย
บทสรุป
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับชิคุนกุนยา มีรายละเอียดต่าง ๆ ของการเกิดโรคเพื่อเป็นข้อมูลไว้สำหรับผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับโรคเพื่อจะได้มีวิธีป้องกันและดูแลตนเองให้ห่างไกลจากชิคุนกุนยาได้ดีเลยทีเดียวค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก..
1.https://www.pobpad.com/โรคชิคุนกุนยา
2.https://www.honestdocs.co/chikungunya