HealthDoo.Today

เว็บไซต์ความรู้ด้านสุขภาพ และความงาม

แผลร้อนใน โรคที่ไม่รุนแรง มักพบในผู้หญิง

แผลร้อนใน โรคที่ไม่รุนแรง มักพบในผู้หญิง

โดยสภาวะปัจจุบัน ทำให้คนในวัยทำงานต้องเคร่งเครียด เร่งรีบ พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้สุภาพอ่อแอลง เห็นได้จาก มักเกิด แผลร้นใน ที่ในช่องปาก คือ การมีแผลเปื่อยในช่องปากซึ่งไม่ใช่โรคติดต่อ อาจจะมีเพียงแผลเดียวหรือหลายแผล และอาจมีขนาดเล็กไม่ถึงเซนติเมตรหรือใหญ่เป็นหลายเซนติเมตรก็ได้ ส่วนความเจ็บจะขึ้นอยู่กับขนาดของแผลและความรุนแรงของโรค มักพบในผู้หญิงจะพบได้บ่อยกว่าผู้ชาย และจะเป็น ๆ หาย ๆ อยู่เป็นประจำ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง นอกจากแผลร้อนใน เกิดจากเชื้อไวรัส สร้างความรำคาญ

โดยปกติแล้ว แผลร้อนใน เป็นโรคที่ไม่รุนแรง มักหายไปได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์หลังการดูแลตนเอง และมักจะไม่ก่อให้เกิดแผลเป็น

สาเหตุของแผลร้อนใน

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคนี้อย่างแน่ชัด อาจมีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยาภูมิต้านทานของร่างกายด้วย และมีสิ่งกระตุ้นให้อาการกำเริบขึ้นมา ได้แก่

1.พันธุกรรม จึงทำให้เชื่อได้ว่าโรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ 

2.ความเครียด ความกังวล ความเหนื่อยล้า อารมณ์โมโหฉุนเฉียว เช่น เครียดจากการทำงาน การอ่านหนังสือสอบมาก ๆ หรือเครียดจากปัญหาภายในครอบครัว 

3.พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก นอนน้อย 

4.การได้รับบาดเจ็บในช่องปาก เช่น เยื่อบุปากหรือลิ้นถูกกัดในขณะเคี้ยวอาหาร หรือถูกแปรงสีฟัน ฟันปลอม หรือจากอาหารแข็ง ๆ เข้าไปกระทบกระแทกในช่องปาก

5.การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแอสไพริน ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาอะเลนโดรเนตที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน (Alendronate) เป็นต้น

6.การรับประทานอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น ของทอด ของมัน เนื้อติดมัน เหล้า เบียร์ ขนมปังเบเกอรี่ ของหวาน ไอศกรีม ผลไม้ที่มีรสหวานมาก ๆ

7.การรับประทานอาหารที่มีรสจัดมากเกินไป เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด

8.การแพ้อาหารบางอย่าง เช่น นมวัว เนยแข็ง กาแฟ โคล่า ช็อกโกแลต แป้งข้าวสาลี ของเผ็ด ส้ม 

9.การแพ้สารบางอย่างในยาสีฟัน เช่น จากการใช้ยาสีฟันที่เจือปนสาร Sodium lauryl sulfate หรือ Sodium lauroyl sarcosinate

10.ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น โรคเอดส์ ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ เพราะพบเซลล์เม็ดเลือดขาวได้สูงในผู้เป็นแผลร้อนใน

11.การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น Helicobacter pylori

12.การติดเชื้อไวรัส เช่น โรคเริม

13.ร่างกายขาดวิตามินและเกลือแร่บางชนิด โดยเฉพาะขาดธาตุเหล็ก สังกะสี กรดโฟลิก วิตามินบี 12

14.การมีประจำเดือนของสตรี การเปลี่ยนของฮอร์โมนสมพันธ์การแผลร้อนในจึงพบได้บ่อยในผู้หญิง โดยเฉพาะในช่วงใกล้หรือมีประจำเดือน 

อาการของแผลร้อนใน

อาการสำคัญของแผลร้อนในคือ 

1.มีแผลเปื่อยในช่องปากแบบเป็น ๆ หาย ๆ 

2.รู้สึกเจ็บตรงตำแหน่งที่จะเกิดแผลเปื่อย ในช่วง 2-3 วันแรก

3.มีรอยแดง ๆ ลักษณะกลม ๆ หรือเป็นรูปไข่ จะเกิดขึ้นก่อนมีแผลเปื่อยประมาณ 2-3 วัน หลังจากนั้นจึงเกิดแผลเปื่อยขึ้นตรงรอยแดงนั้น 

4.กลืนหรือพูดจาไม่ถนัดได้ 

ผลข้างเคียงของแผลร้อนใน

1.กรณีที่แผลเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่จะทำให้แผลหายช้าลง 

2.รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้น้อย 

3.มีไข้ เพราะแผลอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน 

วิธีรักษาแผลร้อนใน

แนวทางในการรักษาจะเป็นแบบประคับประคองไปตามอาการที่เป็น ได้แก่

1.บ้วนปากด้วยน้ำเกลือวันละ 2-3 ครั้ง นอกจากจะช่วยรักษาแผลแล้ว ยังช่วยทำให้ปากสะอาด แบคทีเรียลดลงอีกด้วย

2.เมื่อมีอาการปวดให้อมน้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ หรือดื่มน้ำเย็น ๆ หากปวดมากให้กินยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เพื่อบรรเทาอาการ 

3.ป้ายแผลด้วยยา ดังต่อไปนี้เพื่อบรรเทาอาการ

3.1.สเตียรอยด์ เช่น ครีมป้ายปากไตรแอมซิโนโลน อะเซโทไนด์ ชนิดขี้ผึ้ง 1% ใช้ทาวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร

3.2.ฟลูโอซิโนโลน อะเซโทไนด์ 0.1% ชนิดสารละลายหรือชนิดขี้ผึ้ง ใช้ทาวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร

3.3คลอร์เฮกซิดีน กลูโคเนต (Chlorhexidine gluconate) 0.2%-1% ใช้อมบ้วนปาก 10 มิลลิลิตร อม 1 นาที วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น หรือหลังอาหาร

3.4.ยาชา เช่น เจลลิโดเคน (Lidocaine) ชนิด 2%

4.อาจให้ยาปฏิชีวนะเมื่อสงสัยว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย

5.ให้สารอาหารและน้ำทางหลอดเลือดดำ หากมีอาการเจ็บแผลมากจนรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำไม่ได้ 

6.การใช้ยาเตตราไซคลีน (Tetracycline) ขนาด 250 มิลลิกรัม ผสมกับน้ำ 180 มิลลิลิตร หรือยาดอกซีไซคลีน (Doxycycline) ขนาด 100 มิลลิกรัม ผสมกับน้ำ 10 มิลลิลิตร ใช้กลั้วคอประมาณ 3 นาที วันละ 4 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน จะช่วยลดอาการปวดและช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้นได้

7.ดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว 

8.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะ นม ถั่ว ไข่ ตับ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา และอาหารทะเล เพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายจะได้รับวิตามินบี กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก และสังกะสี เพียงพอ

9.หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดการระคายแผล เช่น อาหารแข็ง อาหารทอด อาหารรสจัด เช่น อาหารเผ็ด อาหารเปรี้ยวจัด 

10.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มร้อน ๆ เครื่องดื่มรสซาบซ่า และผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น มะนาว ส้ม 

11.แนนำให้รับประทานอาหารเย็น ๆ เช่น ไอศกรีม ดื่มน้ำเย็น ๆ เพราะความเย็นจะช่วยทำให้ช่องปากชุ่มชื่นมากขึ้น

12.ผ่อนคลายความเครียดด้วยการออกกำลังกายกลางแจ้งในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์เป็นประจำ

13.พักผ่อนให้เพียงพอ วันล 6-8 ชั่วโมง

14.หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่แพ้ เช่น การใช้ยา และยาสีฟันที่เป็นสิ่งกระตุ้น 

15.รักษาความสะอาดในช่องปาก แปรงฟันทุกครั้งหลังจากรับประทานอาหาร ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งก่อนแปรงฟันเข้านอน

16.ใช้แปรงสีฟันขนาดเล็กและมีขนนุ่มเพื่อไม่ให้ปากถูกกระทบกระแทก

17.ใช้น้ำมันจากใบชาบ้วนปากแทนน้ำยาบ้วนปาก เพื่อช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคและแบคทีเรีย 

18.หลีกเลี่ยงการตากแดดจัด ๆ เพราะจะทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น 

19.การบาดเจ็บจากฟันปลอมไม่กระชับ เสียดสีจนเป็นแผลอยู่บ่อย ๆ ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขฟันปลอมให้กระชับขึ้น 

20.สมุนไพรแก้ร้อนใน ที่นิยมและเป็นที่รู้จักมาก ได้แก่

20.1.ใบบัวบก อาจใช้แบบผงสกัดที่ได้จากส่วนเหนือดินของต้นบัวบก ซึ่งตัวยาจะอยู่ในรูปแบบของยาชงและยาแคปซูล ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่แพ้สมุนไพรในวงศ์ผักชี เช่น ผักชี ผักชีล้อม 

20.2.รางจืด แบบผงสกัดได้มาจากใบรางจืดที่โตเต็มที่ ซึ่งตัวยาจะอยู่ในรูปแบบของยาชงและยาแคปซูล สามารถใช้ได้ในเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 2-3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรหยุดใช้แล้วไปพบแพทย์

20.3.ยามะระขี้นก สกัดจากเนื้อผลแก่ที่ยังไม่สุกของผลมะระขี้นก มีทั้งแบบ ชง แคปซูล และยาเม็ด ห้ามใช้ยานี้ในเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจนเกิดอาการชักได้ 

20.4.ยาหญ้าปักกิ่ง เป็นผงสกัดที่ได้จากหญ้าปักกิ่ง ซึ่งตัวยาจะอยู่ในรูปแบบของยาชงและยาแคปซูล สามารถใช้ยานี้ในเด็กได้ แต่ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 2-3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรหยุดใช้แล้วไปพบแพทย์

วิธีป้องกันแผลร้อนใน

การป้องกันการเกิดแผลร้อนในให้ได้ 100% ยังไม่สามารถทำได้ แต่การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อาจช่วยลดโอกาสการเกิดแผลร้อนในให้ลดน้อยลงได้ เช่น

1.การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เพื่อช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านการติดเชื้อให้กับร่างกาย

2.ค่อย ๆ เคี้ยวอาหาร ไม่รีบรับประทานอาหารมากจนเกินไป เพื่อป้องกันการกัดลิ้นหรือเนื้อเยื่ออื่น ๆ ในช่องปาก

3.พักผ่อนให้เพียงพอ นอนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน

4.รักษาสุขภาพจิตให้ดี ไม่เครียดหรือเป็นกังวลมากจนเกินไป หากิจกรรมเบา ๆ ทำ เพื่อนผ่อนคลาย เช่นฟังเพลง

5.หมั่นออกกำลังกายกลางแจ้งในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์เป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

6.ไม่ใช้ยาสีฟันชนิดเดียวซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานาน

7.รักษาความสะอาดของช่องปากและฟันด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเมื่อตื่นนอนตอนเช้าและก่อนเข้านอน 

8.ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งก่อนแปรงฟันเข้านอน 

9.การบ้วนปากให้สะอาดหลังรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มต่าง ๆ โดยน้ำเกลือหรือน้ำยาบ้วนปากชนิดเบาบาง

10.หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ เช่น อาการแพ้มักก่อให้เกิดโรคร้อนใน หากเจอก็ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจเป็นต้นเหตุ

โรค แผลร้อนใน นี้มักจะเริ่มเป็นครั้งแรกในช่วงวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว ซึ่งจะเป็นแบบเป็น ๆ หาย ๆ บ่อย สามารถหายได้เอง แต่จะใช้เวลา การป้องกันก็ทำได้ยากแต่ก็สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยส่งเสริมได้ เช่นหลีกเลี่ยงความเครียด อาหารรสจัด และพักผ่อนให้เพียงพอ แผลร้อนใน เกิดจากเชื้อไวรัส ดูแลสุขภาพในช่องปากสม่ำเสมอ หมั่นสังเกตอาการหากมีรอยแดงในช่องปากก็ให้รีบดูแล หากไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุจะได้รักษาอย่างถูกต้อง เพราหากปล่อยทิ้งไว้อาจมีอาการเจ็บแผลมากจนกระทบต่อการรับประทานอาหารและการดื่มน้ำ healthdoo.today มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้