สับปะรด ผลไม้เขตร้อนที่อุดมไปด้วยวิตามิน
ผลไม้ไทยมีหลากหลายชนิด ประโยชน์นานับประการ มีให้รับประทานตลอดทั้งปี โดยเฉพาะ สับปะรด ซึ่งเป็นผลไม้เขตร้อนที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และมีเอนไซม์บรอมมีเลน (bromelain)
สับปะรด มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี และจัดว่าเป็นผลไม้เศรษฐกิจของบ้านเราด้วย แหล่งปลูกที่สำคัญ ๆ จะอยู่ใกล้ ๆ ทะเล เช่น ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ จำนวนมาก ซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี เป็นต้น
น้ำคั้นจาก สับปะรด มีสารสำคัญที่พบใน สับปะรด คือสารในกลุ่ม phytoestrogens lignans กรดซิตริก กรดมาลิก วิตามินต่าง ๆ รวมทั้งเอนไซม์ บรอมมีเลนซึ่งมีฤทธิ์ย่อยโปรตีน ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ต้านอนุมูลอิสระอย่างอ่อน ต้านมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ช่วยย่อยอาหาร ลดอาการบวมและการอักเสบ
Table of Contents
ข้อเสียของการรับปรทานสับปะรด
1.ระคายเคืองเล็กน้อยภายในปาก ริมฝีปาก และลิ้นได้
2.ไม่ควรรับประทานในขณะท้องว่าง เนื่องจาก สับปะรด มีความเป็นกรด และมีเอนไซม์บรอมมีเลน ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารได้
ประโยชน์ของสับปะรด
สับปะรด มีสรรพคุณมากมาย สับปะรด ประโยชน์ มีประโยชน์ทุกส่วน ไม่ว่าจะ ราก หนาม ใบ และเนื้อสับปะรด การรับประทานสับปะรดแนะนำให้ทานสด ๆ ไม่ผ่านกระบวนการประกอบอาหารหรือผ่านความร้อนเพื่อป้องกันการสูญเสียวิตามิน โดยสับปะรดที่เริ่มนิ่มแล้วและมีน้ำเหนียว ๆ ไหลออกมา แสดงว่าเริ่มเน่าหรือสุกมากจนเกินไป จึงไม่ควรรับประทาน สับปะรด มีประโยชน์แทบทุกส่วน ใบสด นำมาใช้เป็นยาถ่ายหรือยาฆ่าพยาธิได้ ผลดิบสามารถนำมาใช้ห้ามเลือดและช่วยขับประจําเดือน หนามของสับปะรดช่วยแก้พิษฝีต่าง ๆ ได้ ส่วนของรากสับปะรดนำมาใช้เป็นยาแก้กระษัย บำรุงไตได้ ส่วนแกนสับปะรดยังช่วยขับปัสสาวะ แก้นิ่วได้อีกด้วย และยังมีประโยชน์อีกมากมาย ได้แก่
1.ในสับปะรดอุดมด้วยวิตามินซี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายติดเชื้อยากและต่อสู้กับโรคต่าง ๆได้เป็นอย่างดี
2.ช่วยบรรเทาอาการหวัด แก้เสมหะเหนียว ขับเสมหะในลำคอได้ แก้ไอ ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
3.สับปะรดช่วยย่อยอาหารจำพวกโปรตีนได้ เพราะมีเอนไซม์ธรรมชาติ คือ บรอมีเลน ทำหน้าที่สร้างกรดอะมิโนและเปปไทด์ขนาดเล็ก ที่ช่วยย่อยโปรตีนได้ทั้งสภาวะกรดและด่าง เพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารและให้ดูดซึมผ่านลำไส้เล็กได้สะดวกยิ่งขึ้นจึงช่วยลดอาการจุกเสียด แน่นท้องได้ อีกทั้งยังสามารถนำ สับปะรด มาหมักเนื้อสดได้ เพื่อทำให้เนื้อนุ่มอีกด้วย
4.เอ็นไซม์บรอมีเลน ช่วยฆ่าเชื้ออ่อน ๆ ช่วยทำลายแบคทีเรียที่ไม่มีประโยชน์ และยังช่วยสมานแผล ลดการอักเสบของกระเพาะอาหารและลำไส้ได้
5.ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเต้านม โดยบรอมีเลนจะทำให้เม็ดเลือดขาวหลั่งสารไซโตไคน์ ซึ่งช่วยให้เม็ดเลือดขาวกำจัดเซลล์มะเร็งได้
6.สับปะรดช่วยบรรเทาอาการร้อน กระสับกระส่าย กระหายน้ำ กินได้ทั้งแบบสดและปั่นเป็นน้ำสับปะรดก็ได้ เนื่องจากสับปะรด มีรสเปรี้ยวอมหวาน โดดเด่นด้วยรสชาติสดชื่นฉ่ำน้ำ
7.สับปะรดมีใยอาหาร ช่วยในการลดน้ำหนัก รับประทานหลังมื้ออาหารทั้งกลางวันและเย็น จะช่วยย่อยอาหารลดการสร้างไขมันและเพิ่มการสลายไขมันได้ มีแคลอรีต่ำ มีวิตามิน แร่ธาตุที่สำคัญสูง และไฟเบอร์ที่สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และทำให้คุณรู้สึกอิ่มนานจากที่มีใยอาหารเยอะอีกด้วย
8.สับปะรดมี วิตามินบี 1 และวิตามินบี 6 แม้จะมีไม่มากแต่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เพราะจะช่วยป้องกันอาการเหน็บชา เหนื่อยง่าย ทำให้ระบบประสาทและเม็ดเลือดทำงานดีขึ้น
9.ใน สับปะรด มีโพแทสเซียมสูง ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีมากขึ้น รักษาโรคความดันโลหิตสูง
10.ช่วยให้สุขภาพในช่องปากแข็งแรง ป้องกันไม่ให้เกิดโรคเหงือก
11.ช่วยแก้อาการท้องผูก ขับถ่ายไม่สะดวก
12.ช่วยรักษาโรคนิ่ว
13.ช่วยบรรเทาอาการของโรคบิด
14.ช่วยรักษาโรคไตอักเสบ ช่วยรักษาอาการบวมน้ำ ช่วยในการขับปัสสาวะ ปัสสาวะไม่ออก
15.ลดความเครียด สับปะรด มีเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งมีคุณสมบัติลดความเครียด ช่วยให้ฮอร์โมนและเส้นประสาทของคุณผ่อนคลาย
16.เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ปัญหาส้นเท้าแตก
17.ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยและความแก่ชรา บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง สดใส และสร้างคอลลาเจนในชั้นผิว
18.กระดูกแข็งแรง สับปะรดเป็นหนึ่งในแหล่งอาหารชั้นนำของแมงกานีส ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก และแร่ธาตุ เสริมกระดูกของคุณให้สตรองมากยิ่งขึ้น
19.รักษาแผลไฟไหม้ โบรมีเลนจากสับปะรดมาทาเพื่อรักษาแผลไฟไหม้ ส่งผลทำให้มีเนื้อเยื่อตายจากแผลไฟไหม้ลดน้อยลงได้
ปริมาณที่เหมาะสมในการบริโภคสับปะรด
หลายคนจะเลือกรับประทาน สับปะรด เพื่อลดน้ำหนัก ควรรับประทานหลังทานมื้ออาหารประมาณ 2-3 ชิ้นใหญ่ หรือไม่เกิน 1 ลูกต่อวัน ซึ่งจะมีวิตามินซีอยู่ประมาณ 100 มิลลิกรัม ส่วนสับปะรดที่ถูกแปรรูปแล้วอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น น้ำสับปะรด ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมักมีสารโบรมีเลนอยู่ประมาณ 500 มิลลิกรัม
ส่วนการใช้สารโบรมีเลนที่เป็นสารสกัดจาก สับปะรด เพื่อการรักษา ต้องอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น ซึ่งจะพิจารณาปริมาณตามความเหมาะสม โดยปริมาณทั่วไปอยู่ที่ครั้งละ 40 มิลลิกรัม 3-4 ครั้ง/วัน
ผู้ที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
1.ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ควรระมัดระวังและรับประทาน สับปะรด ในปริมาณที่พอดีเท่านั้น เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงต่อตนเองและทารก
2.ผู้ป่วยภูมิแพ้หรือมีภาวะภูมิไวเกิน หากเป็นผู้ที่แพ้สารประกอบใด ๆ ในสับปะรด ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคสับปะรดและอาหารบางชนิด หรือหลีกเลี่ยงสารที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ในลักษณะเดียวกันได้ เช่น แครอท ข้าวสาลี ผักชีฝรั่ง ผักชีล้อม สารลาเท็กซ์ ละอองเรณูของต้นหญ้า เป็นต้น
3.ผู้ป่วยผ่าตัด สารโบรมีเลนในสับปะรด เพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะมีเลือดออก ทั้งในระหว่างการผ่าตัดและหลังการผ่าตัด ดังนั้น ควรหยุดบริโภคสับปะรดและสารโบรมีเลนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนวันผ่าตัด
สับปะรด เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ มีกรดซิตริกหรือกรดมะนาว และกรดมาลิก ที่เป็นสารให้รสเปรี้ยว โดยมีกรดแอสคอร์บิก หรือวิตามินซี มีประโยชน์ต่อการทำงานในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ส่วนเอนไซม์โบรมีเลน สับปะรด ประโยชน์ ช่วยกระตุ้นการสร้างสารต้านการอักเสบ healthdoo ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกที่ผิดปกติ และช่วยชะลอการแข็งตัวของเลือดได้ ที่สำคัญช่วยย่อยโปรตีนได้เป็นอย่างดี แต่ก็ควรรับประทานอย่างพอดี ป้องกันการแสบปาก กัดลิ้น จากกรดที่มีอยู่ในสับปะรด